ส่วนประกอบของรถยนต์ ส่วนประกอบจากชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีซับซ้อนมากมายดังนี้
รถยนต์เป็นการนำเอาส่วนประกอบจากชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ จำนวนมากมาย ทั้งแบบซับซ้อนและไม่ซับซ้อนมาประกอบเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นระบบที่สามารถทำงานเชื่อมโยงประสานกันทั้งภายในและภายนอก ซึ่งหลักๆ จะเป็นส่วนของโครงรถ ระบบบังคับเลี้ยว ตัวถัง เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ล้อ และยาง เป็นต้น ซึ่งมีการจัดแบ่งรายละเอียดของหน้าที่ชิ้นส่วนต่างๆ เอาไว้ดังนี้
ระบบพวงมาลัย
เป็นระบบที่ใช้สำหรับการควบคุมทิศทาง พวงมาลัยที่ดีจะต้องมีประสิทธิภาพในการควบคุมล้อไม่ให้เกิดการลื่นไถล ไม่ทำให้ยางถูกไปด้านข้างเมื่อทำการเลี้ยว มีประสิทธิภาพช่วยลดแรงกระแทกระหว่างยางกับถนน ทำให้การใช้งานพวงมาลัยนุ่มลื่นไม่สัมผัสได้ถึงแรงกระทำที่เกิดขึ้น โดยส่วนประกอบของพวงมาลัย จะประกอบด้วยพวงมาลัยด้านนอกที่ใช้งานในการควบคุม ขายึดแกนพวงมาลัย หน้าแปลนพวงมาลัย ยางข้อต่อ กระปุกเกียร์พวงมาลัย แขนเกียร์พวงมาลัย คันชักคันส่งกลางและคันชักคันส่งล่าง และเขียนดึงกลับ
ระบบเกียร์รถยนต์
ส่วนของเกียร์แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ เกียร์พวงมาลัย และเกียร์กระปุก ระบบการทำงานของเกียร์ทั้งสองไม่แตกต่างกัน แต่จะมีเพียงการออกแบบในขั้นตอนการเข้าเกียร์เท่านั้นที่ไม่เหมือนกัน การทำงานของเกียร์รถยนต์จะมีการถ่ายกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเพลาและล้อ ห้องเกียร์จะถูกติดตั้งไว้ถัดจากคลัทช์ ทำหน้าที่สำหรับเชื่อม หรือช่วยส่งกำลังจากเครื่องไปยังระบบส่งกำลัง ทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนต่อไปได้
คลัทช์
มีหน้าที่ช่วยปลดกำลังของเครื่องยนต์ที่ล้อขับเคลื่อน เมื่อเปลี่ยนเกียร์หรือขณะทำการสตาร์ทเครื่อง ช่วยให้สามารถเปลี่ยนเกียร์หรือทำการสตาร์ทได้อย่างนุ่มนวล ในช่วงของการสตาร์ทยังทำให้เครื่องยนต์สามารถเพิ่มความเร็วสู่การออกตัวได้เพียงพอ
ระบบเบรกรถยนต์
เป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การติดตั้งจะต้องถูกทำอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหน้าที่ของเบรกก็คือช่วยชะลอและหยุดรถ ย้อนกลับไปในอดีตมีการประดิษฐ์เบรกที่ใช้สำหรับล้อเลื่อนชนิดต่างๆ โดยมีหลักการไม่ซับซ้อนคือกดก้ามเบรกลงไปยังล้อเพื่อให้หยุดหมุน ทว่าในปัจจุบันล้อรถยนต์เป็นชนิดแบบสูบลม ใช้บรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก บวกกับการแล่นด้วยความเร็วสูงในระยะทางไกล ระบบเบรกจึงต้องถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้ใช้งานได้จริง การปรับเปลี่ยนจะต้องช่วยเพิ่มระดับในการเบรก และแน่นอนว่าส่วนของล้อจะต้องทนทานต่อการเบรกได้ด้วย ซึ่งระบบเบรกที่ดีจะมีหน้าที่หลักๆ ด้วยกัน 3 อย่าง คือ
- ช่วยลดความเร็วรถยนต์ให้ช้าลง หรือช่วยชะลอความเร็วขณะที่รถแล่นลงจากทางลาดชัน
- ช่วยทำหน้าที่หยุดรถ
- ช่วยยึดรถให้อยู่กับที่เมื่อไม่มีคนขับอยู่ในรถ หรือจอดเอาไว้ตรงทางลาดชัน
รถยนต์นั่งในปัจจุบัน ยังมีการออกแบบพัฒนาเบรกให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้น ในการเบรกแต่ละครั้งจะต้องใช้กำลังมากถึง 600-800 แรงม้า จึงจะช่วยทำให้รถยนต์หยุดเคลื่อนที่ได้ แม้จะเป็นระยะทางเพียงแค่ 1 ใน 6 ของระยะที่รถมีการเร่งความเร็วมากขึ้นไปสู่ความเร็วสูงสุดก็ตาม เมื่อเบรก ระบบจะมีลำดับการทำงาน 3 ขั้นตอนคือ ตั้งแต่การเหยียบเบรกจากประสาทสั่งการของมนุษย์ ตามด้วยช่วงสร้างแรงดันเบรกเป็นช่วงที่สอง ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบเบรก และช่วงที่สามคือช่วงหน่วงให้รถหยุด โดยขึ้นอยู่กับอัตราการหน่วงและสภาพของถนนในขณะนั้น :: ไชยเจริญเทคเรารับผลิตอะไหล่รถยนต์ เป็นโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ ที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิต
ระบบแอร์รถยนต์
ด้วยสภาพอากาศอย่างในเมืองไทย จำเป็นต้องซื้อรถยนต์ที่มีแอร์เป็นส่วนประกอบจะดีกว่า อีกทั้งยังช่วยปิดกั้นจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ไม่น่าภิรมย์ หลักการทำงานของระบบนี้จะใช้ฟรีออน 12 เป็นตัวดูดเอาอากาศร้อนภายในรถออกไปทิ้งนอกรถ ทำให้อุณหภูมิในรถเย็นลงได้
ตัวถังรถยนต์
เป็นส่วนประกอบที่อยู่ด้านนอกสุด แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าระบบภายใน โครงสร้างของตัวถังจะต้องมีความแข็งแรง ช่วยให้ผู้ใช้งานปลอดภัย มีระบบกันกระแทกที่ดี ส่วนมากจึงผลิตจากเหล็ก และแยกชิ้นส่วนนำมาประกอบเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ต้องสามารถรับน้ำหนักของเครื่องยนต์ ไม่ยุบเมื่อเกิดแรงกระแทกเพียงแค่เล็กน้อย อีกทั้งส่วนกลางที่เป็นพื้นที่คนขับและผู้โดยสาร จะต้องออกแบบมาให้แข็งแรงมากที่สุด
ยางรถยนต์
เป็นส่วนประกอบที่ช่วยให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยสร้างความปลอดภัยให้รถยนต์และคนที่ใช้งานอยู่ภายใน ยางที่ดีจะต้องช่วยลดแรงกระแทก ดูดซับแรงสั่นสะเทือน ช่วยรองรับน้ำหนักรถยนต์ โดยส่วนประกอบหลักๆ คือเนื้อยาง ขอบลวด บ่ายาง ดอกยาง และแก้มยาง ซึ่งในปัจจุบัน จะมียางให้เลือกด้วยกัน 2 ประเภทคือ
- ยางที่ต้องมียางใน คือยางที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่มีข้อเสียที่ต้องระมัดระวังเมื่อสัมผัสกับของแหลม อย่างตะปูที่เสี่ยงจะทำให้ยางเกิดระเบิดขึ้นมาได้ จนเป็นอันตรายต่อการควบคุมรถ
- ยางที่ไม่มียางใน คือจะมีไลเนอร์เป็นส่วนประกอบช่วยป้องกันไม่ให้ยางรั่วซึมอีกทีหนึ่ง บางครั้งจะใช้ส่วนของยางนอกเป็นยางในแทน ข้อดีคือป้องกันการรั่วเมื่อโดนของแหลม เมื่อยางโดนตะปูทิ่มจะไม่เกิดการระเบิดขึ้นมาทันที ทว่าลมจะค่อยๆ รั่วออกมาเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยางยังช่วยอุดรอยรั่วให้น้อยลง ทำให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งานมากกว่า
บางครั้งเมื่อถูกของมีคมเข้าไป ยังสามารถขับต่อไปได้โดยไม่ต้องปะยาง นอกจากนี้ตัวยางยังมีน้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี สะดวกเมื่อทำการปะรอยรั่ว ส่วนข้อเสียที่พบคือการค้นหารอยรั่วค่อนข้างยาก นอกจากจะเป็นรอยรั่วขนาดใหญ่ และมีโอกาสเกิดการรั่วซ้ำในตำแหน่งเดิมได้หากอุดไม่แน่นพอ