การเติบโตของระบบการผลิตอะไหล่ และชิ้นส่วนรถยนต์ ของประเทศไทย
ในอนาคตข้างหน้า ระบบการผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์ของไทย จะยังคงสามารถเติบโตต่อไปได้อีกเป็นอย่างมาก จากการคาดการณ์ปริมาณของการใช้รถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ ก็จะเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ขยายตัวได้ดีเช่นเดียวกัน ทั้งนี้อานิสงส์ที่ทำให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง อาจจะต้องขอบคุณตลาดรถยนต์ในประเทศที่มีการพัฒนาจนฟื้นตัวกลับคืนขึ้นมาอีกครั้งได้
เมื่อการเพิ่มขึ้นของตลาดรถยนต์ ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์กันของยอดขายชิ้นส่วนที่เพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กัน เกือบ 70% โดยเฉพาะในกลุ่ม Original Equipment Manufacturing (OEM) คือผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่จำเป็นต้องมีการผลิตให้เกิดความสอดคล้องกับปริมาณความต้องการ และคุณภาพที่โรงงานประกอบรถยนต์ต้องการ โดยจะมีข้อกำหนด มีการตรวจสอบคุณภาพสินค้า โดยผู้ผลิตในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโลกของการผลิตรถยนต์
ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนในกลุ่มอะไหล่ทดแทน (Replacement Equipment Manufacturing: REM)
ในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ การเคลื่อนไหวจะเป็นไปตามการใช้จ่ายของเอกชนมากกว่า แม้ตัวแปรของการผลิตรถยนต์จะมีผลเกี่ยวข้อง แต่กลับการใช้จ่ายในภาคเอกชนมีผลเป็นค่าตัวแปรที่สำคัญมากว่า
การเติบโตของธุรกิจผลิตอะไหล่ทดแทนประเภท REM ในอนาคต มีแนวโน้มจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น สังเกตได้จากการใช้ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน และยังไม่มีทีท่าว่าผู้คนจะลดความต้องการปัจจัยเหล่านี้้น้อยลงแต่อย่างใด บวกกับโอกาสทางธุรกิจเอกชนที่มีกำลังในการจ่าย ยิ่งช่วยเสริมทัพให้ธุรกิจนี้ดำเนินหน้าต่อไปได้
อุปกรณ์ที่เหล่านี้จะเริ่มมีประโยชน์กับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป อะไหล่ต่างๆ จะเริ่มเสื่อมสภาพและค่อนข้างเก่า เป็นปัญหาที่ผู้ใช้รถยนต์ต้องแบกรับในส่วนของค่าซ่อมบำรุง การดูแลรักษา และการใช้งานที่จำกัดมากขึ้น แต่เนื่องจากความปลอดภัยในการขับขี่ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น และทุกคนต่างตระหนักดีว่า อย่างไรเสียก็ต้องยอมควักกระเป๋าจ่ายตอนนี้ ดีกว่าเสียน้อยเสียยากในภายหลัง อะไหล่ทดแทนจึงเข้ามามีบทบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อทดแทนในส่วนที่สึกหรอหรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ เป็นผลให้อะไหล่ REM เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ผลจากการสำรวจข้อมูลการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการจดทะเบียนกับทางขนส่งทางบกในช่วงล่าสุดนับเป็นเวลา 9 เดือนแรก ในปี 2010 จำนวนการเข้ามาจดทะเบียนมีมากกว่า 2 ล้านคัน ปริมาณเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็น 2 เท่าตัว แน่นอนว่าหากลองคาดการณ์ไปถึงอนาคตข้างหน้าอีกสักประมาณ 5 ปี จำนวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เริ่มเสื่อมสภาพ อะไหล่สึกหรอ อายุการใช้งานตั้งแต่ 6-10 ปี (เป็นรถที่จดทะเบียนตั้งแต่ในปี 2006-2010) จะมีปริมาณมากถึง 12 ล้านคัน ซึ่งเพิ่มจาก 2 ล้านคันดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เป็นโอกาสอันงามสำหรับการทำธุรกิจ REM ช่วยให้รับรองได้ว่าอะไหล่ทดแทนจะถูกใช้งานเป็นจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตข้างหน้า
การผลิตและการประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย
เนื่องจากเศรษฐกิจที่ถือได้ว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคแถบอาเซียน ขีดความสามารถในการผลิตยานพาหนะมีความพร้อมมากที่สุด อัตราค่าภาษีต่ำ จึงเป็นจุดดึงดูดที่ทำให้นักลงทุนจากชาติต่างๆ ให้ความสนใจ ยอดการส่งออกเพิ่มทวีมากกว่าเดิม ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกรถยนต์ผ่านการขนส่งด้วยเรือไปยัง 130 ประเทศทั่วโลก เป็นการแสดงจุดยืนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ มาตรฐานการผลิตของประเทศไทย ที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวต่างประเทศ
ในกระบวนการผลิตและการประกอบรถยนต์ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย และยังมีบริษัทรถยนต์จากต่างชาติเข้ามาลงทุนในด้านการพัฒนาและทำวิจัยด้านต่างๆ ทำให้กลายเป็นอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมไปโดยปริยาย สังเกตได้จากบริษัทโตโยต้าที่เริ่มหันมาผลิตรถยนต์แบบไฮบริดในประเทศไทยโดยใช้โรงงานที่เป็นก๊าซธรรมชาติบริษัทแรกของอาเซียนในปี พ.ศ.2552
ข้อมูลการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย
ปัจจุบันทางรัฐบาลไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจกับธุรกิจการผลิตรถยนต์มากขึ้น ด้วยแนวทางการสนับสนุนให้มีการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และนวัตกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ร่วมด้วย การนำเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นตัวช่วยควบคุมการทำงานของรถยนต์ ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนนำเอาเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตที่ให้ความแม่นยำ รวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้แรงงานคนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังเริ่มมีการสนับสนุนให้มีการพัฒนารถยนต์ที่ใช้ระบบพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน รัฐบาลพยายามผลักดันให้รถยนต์ประเภทนี้ถูกผลิตขึ้นมาใช้อย่างจริงจัง ไม่เป็นเพียงแค่ภาพเพ้อฝันอีกต่อไป
หลักๆ ที่ถูกวางเป้าหมายเอาไว้ก็คือ รถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV (Battery Electric Vehicles: BEV) และรถยนต์ปลั๊กอินประเภทไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicles: PHEV) โดยอาจมีการพัฒนาให้สามารถสลับใช้งานระหว่างพลังงานไฟฟ้ากับพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาร่วมกันได้ เมื่อน้ำมันหมด ก็สามารถเสียบปลั๊กชาร์ตแบตเตอรี่ หรือหากไฟหมด ก็ตัดกลับมาใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนต่อไป
ทั้งนี้ทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย พยายามตั้งเป้าก้าวไปสู่รูปแบบที่มีความเป็นอัจฉริยะกันมากขึ้น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะถูกควบคุมมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากประเทศไทยต้องการตั้งตัวเองให้กลายเป็นฐานผลิตรถยนต์ที่มีความน่าเชื่อถือ และลายเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของโลกแล้วล่ะก็ รัฐบาลและผู้ประกอบการจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวโน้มความต้องการของรัฐ ความต้องการชิ้นส่วน และการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างที่อาจกระทบต่อการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้