บันไดเลื่อน ระบบขนส่งภายใน อาศัยการใช้สายพานและบันไดเป็นองค์ประกอบ

บันไดเลื่อน ระบบขนส่งภายใน อาศัยการใช้สายพานและบันไดเป็นองค์ประกอบ

บันไดเลื่อน คือระบบขนส่งชนิดหนึ่ง โดยอาศัยการใช้สายพานและบันไดเป็นองค์ประกอบ ในการลำเลียงคนจำนวนมากด้วยความเร็วคงที่และเหมาะสม ในการเคลื่อนที่ของบันไดเลื่อนจะต้องอาศัยโซ่ที่มีข้อต่อ 1 คู่ คล้องผ่านเกียร์หรือเฟือง 2 คู่ เฟืองจะคอยขับเคลื่อนบันไดเลื่อนที่เรียงต่อกันในหลายๆ ชั้น ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าในความเร็วแบบคงที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ส่วนของราวบันไดถูกออกแบบมาให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันกับบันได ด้วยความเร็วที่เท่ากับบันไดเคลื่อนตัว โดยต้องอาศัย มอเตอร์ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนราวบันไดด้วยเช่นกัน

บันไดเลื่อน ถูกคิดค้น และออกมาแบบให้นำมาใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ.1900 โดยใช้ชื่อว่า Escalator ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินที่เป็นคำผสมระหว่าง Elevator และ Scala สำหรับในประเทศนั้นบันไดเลื่อนถูกนำเข้ามาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507 โดยห้างสรรพสินค้าไทยไดมารูราชประสงค์ ซึ่งถือว่าเป็นห้างสรรพสินค้าแรกที่นำบันไดเลื่อนชุดแรกเข้ามาใช้งาน โดยเปิดให้ใช้บริการครั้งแรกวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2507 ผู้คนในกรุงเทพต่างให้ควานสนใจและแห่ไปทดลองใช้งานกันอย่างเนืองแน่น

ห้างสรรพสินค้าไทยไดมารูราชประสงค์ เป็นผู้ที่นำบันไดเลื่อนเข้ามาในเมืองไทยเป็นรายแรก โดยเปิดให้ใช้บริการเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคนกรุงเป็นอย่างมาก ต่างพากันแห่เข้าไปใช้งานกันอย่างเนืองแน่น  โดยแต่เดิมห้างสรรพสินค้าไทยไดมารู ตั้งอยู่ทางฝั่งของศูนย์การค้าเวิร์ลเทรดในปัจจุบัน ต่อมาห้างได้ย้ายไปอยู่ยังฝั่งตรงข้าม โดยไม่ทราบว่าได้มีการย้ายบันไดเลื่อนตัวแรกไปด้วยหรือไม่ แต่ในปัจจุบันนี้ไม่มีห้างสรรพสินค้าไทยไดมารูให้ได้เห็นกันแล้ว เนื่องจากถูกทุบทิ้งไปหลายปีแล้ว

บันไดเลื่อน ระบบขนส่งภายใน อาศัยการใช้สายพานและบันไดเป็นองค์ประกอบ

ไชยเจริญเทค เรารับผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ บันไดเลื่อนตามแบบ

ข้อดีของบันไดเลื่อน

บันไดเลื่อนสามารถเคลื่อนย้ายคนจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่อง และสถานที่ติดตั้งใช้งานสามารถนำมาติดตั้งใช้ในสถานที่ในแบบเดียวกันกับบันไดทั่วไปได้ โดยสามารถเคลื่อนย้ายผู้คนจำนวนมากในช่วงเวลาที่จราจรเกิดความหนาแน่น สามารถนำมาติดตั้งในบริเวณกลางแจ้ง หรือบริเวณที่อาจเปียกฝนได้ และถึงแม้เครื่องจะไม่ได้ทำงานก็สามารถใช้งานเดินขึ้น-ลงได้เหมือนบันไดทั่วไป ซึ่งต่างกับระบบขนส่งอื่น อย่างเช่น ลิฟต์ เมื่อเครื่องเสียหรือหยุดทำงาน การทำงานทุกอย่างจะถูกหยุดลงทั้งหมด ไม่สามารถใช้งานได้

ปัจจุบันบันไดเลื่อนเกือบทั้งหมดจะมีราวจับมืออยู่บริเวณด้านข้างเพื่อช่วยในการทรงตัว ซึ่งราวจับจะมีการเคลื่อนตัวไปพร้อมๆ กันกับตัวบันได และในบางสถานที่ที่ไม่ได้มีคนใช้งานอยู่ตลอดเวลา ก็สามารถติดตั้งเซนเซอร์แบบอัตโนมัติ เพื่อให้เครื่องเปิดทำงานอัตโนมัติเมื่อมีคนเดินผ่าน และเมื่อไม่มีการใช้งานเครื่องจะปิดและหยุดพักอัตโนมัติ เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ในปัจจุบันบันไดเลื่อนถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม แต่โดยโครงสร้างแล้วก็จะไม่มีความต่างจากตัวที่เคยถูกผลิตออกมาก่อนหน้านี้นัก

การใช้พลังงานของบันไดเลื่อน

บันไดเลื่อนจะใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนตัวมอเตอร์ที่ขับชุดเฟือง ซึ่งถูกต่อโดยตรงกับโซ่ของบันไดและตัวชุดราวบันได โดยกำลังของมอเตอร์ที่ใช้จะถูกแปรผันไปตามความสูงความกว้างของขั้นบันไดที่ถูกติดตั้งไว้ เนื่องจากบันไดเลื่อนมีความเร็ว-ต่ำแบบคงที่ เพราะฉะนั้นความเร็วจึงไม่มีผลต่อกำลังของมอเตอร์ที่ใช้ แต่หากระบบส่งกำลังมีความฝืดสูงมักจะส่งผลทำให้สูญเสียพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

ข้อห้ามสำหรับการใช้งานบันไดเลื่อน

  1. ห้ามชะโงกศีรษะ หรือยื่นแขนขา และอวัยวะอื่นๆ ออกนอกบันไดเลื่อน
  2. ห้ามนั่งบนขั้นบันไดเลื่อน
  3. ห้ามยืนหรือปีนป่ายบริเวณราวจับของบันไดเลื่อน
  4. ห้ามเอนตัวหรือยืนพิงบริเวณราวจับบันไดเลื่อน
  5. ห้ามวางเท้าชิดหรือใช้เท้าถูที่บริเวณขอบข้างบันไดเลื่อน
  6. ห้ามใช้เท้ากระทืบ หรือกระแทกลงที่แผ่นปิดบันไดเลื่อน และขั้นบันไดเลื่อน
  7. ห้ามวิ่งสวนทางกับทิศทางการทำงานของบันไดเลื่อน
  8. ห้ามก้มเก็บสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ที่บันไดเลื่อน
  9. ห้ามใช้รองเท้าที่เป็นล้อเลื่อน รถจักรยาน หรือรถเข็นที่ล้อไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ล็อคกับขั้นบันไดหรือทางเลื่อน
  10. ห้ามรถเข็นเด็กใช้บันไดเลื่อน โดยจะต้องพับเก็บและอุ้มเด็กเล็กไว้ เนื่องจากล้อของรถเข็นอาจจะเกิดไหลลงขณะใช้งาน
  11. ห้ามวางหรือให้สัตว์เลี้ยงยืนอยู่ที่ชั้นบันไดเลื่อนเอง โดยต้องคอยอุ้มสัตว์เลี้ยงไว้กับตัวเสมอ
  12. ห้ามใช้บันไดเลื่อนในการขนสัมภาระที่มีน้ำหนักมากหรือมีขนาดใหญ่
  13. กรณีเกิดไฟไหม้ห้ามใช้บันไดเลื่อนในการสัญจร หรือขนย้ายสิ่งของ
  14. ในกรณีฉุกเฉิน หรือพบเห็นอุบัติเหตุจากการใช้งานบันไดเลื่อน หรือทางเลื่อน ให้กดปุ่มหยุดบันไดเลื่อน หรือทางเลื่อน หลังจากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

ข้อแนะนำการใช้งานบันไดเลื่อนสำหรับอาคาร

  • ในระยะความปลอดภัยของบันไดเลื่อนประมาณ 2.50 เมตร จะต้องเป็นพื้นที่ว่าง ห้ามมีสิ่งปลูกสร้าง สิ่งของ วางกีดขวางบริเวณทางเข้าออก
  • บริเวณพื้นบันไดเลื่อนต้องแห้งสะอาดตลอดเวลา ไม่ควรมีน้ำนอง และไม่ควรมีขยะ
  • ขณะที่บันไดเลื่อน หรือทางเลื่อนทำงาน ห้ามทำความสะอาดราวมือจับบันไดเลื่อนหรือทางเลื่อน ขั้นบันไดเลื่อน และชิ้นส่วนต่างๆ
  • ตรวจสอบความปลอดภัยหรือจัดให้มีการซ่อมบำรุงรักษาบันไดเลื่อนหรือทางเลื่อน โดยให้ทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตซึ่งควรทำอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
  • ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดและสึกหรอที่เกิดตามอายุของการใช้งานและโดยให้ทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
  • ก่อนการเปิดใช้งานทุกครั้งจะต้องทำการเดินสำรวจตลอดบันไดเลื่อน
  • ต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยประจำปีตามกฎหมาย โดยให้ทำทุกๆ ปี

ขณะที่กำลังใช้งานบันไดเลื่อน หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ควรตั้งสติและรีบกดปุ่มหยุดฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด แต่หากไม่สามารถที่จะกดเองได้ควรรีบขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ยังบริเวณใกล้เคียง หลังจากนั้นให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารให้ทราบทันที โดยขณะที่กำลังรอเจ้าหน้าที่ไม่ควรขยับร่างกาย พยายามอยู่ให้นิ่งที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อลดอาการบาดเจ็บหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดเพิ่มมากขึ้น โดยควรรอให้ทีมกู้ภัยหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับบันไดเลื่อนเข้ามาช่วยจะปลอดภัยมากกว่า

บริการที่เกี่ยวข้อง

รับผลิตงานโลหะตามแบบ

รับผลิตงานโลหะตามแบบ

บริการผลิต งานตามแบบ รับผลิตชิ้นงานโลหะตามแบบ ตัดเลเซอร์ พับ งอ ดัดโค้ง งานอุตสาหกรรม งานเชื่อม กลึง ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ CNC รับผลิตชิ้นส่วน ครงวงจร... รายละเอียด