เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ท่อร้อยสายไฟ ประเภทของสีท่อ และหลักการใช้งาน
จุดประสงค์หลักของการเลือกใช้ท่อในงานไฟฟ้า ก็เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสายไฟ และเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการเดินสายระบบไฟในแต่ละพื้นที่ โดยท่อที่นิยมใช้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ท่อโลหะและท่ออโลหะ ซึ่งประกอบไปด้วยดังนี้
พีวีซีร้อยสายไฟฟ้า ผลิตจาก uPVC
เป็นท่อที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการร้อยสายไฟ สายสัญญาณต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบให้กับสายไฟ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันอันตรายจากไฟรั่ว ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดไฟไหม้หรือไฟฟ้ารัดวงจรได้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ ซึ่งในปัจจุบันอุบัติเหตุไฟไหม้มีสาเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอันดับต้นๆ โดยต้นเหตุนั้นก็เกิดได้จากหลายองค์ประกอบ เช่น สายไฟมีความเสื่อมสภาพ เนื่องจากใช้งานมาเป็นเวลานาน ถูกหนูกัดแทะ หรือโดนของมีคมขูดขีด ซึ่งก็เป็นผลมาจากการเดินสายไฟแบบเปลือย หรือพาดสายไฟบนเพดาน และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟฟ้ารัดวงจรได้
- สายสีเหลือง เป็นชนิดที่เหมาะกับการเดินระบบไฟแบบฝังในผนัง ซึ่งการติดตั้งจะถูกติดตั้งก่อนที่จะมีการฉาบปูนปิดผิว ทำให้ผนังของห้องดูเรียบสามารถทาสีหรือติดวอลเปเปอร์ได้อย่างสวยงาม และยังสามารถวางเฟอร์นิเจอร์ได้ตามจุดต่างๆ โดยไม่เกี่ยวหรือติดสายไฟ
- สายสีขาว เป็นชนิดที่เหมาะกับระบบท่อที่อยู่บนผนังหรือแบบเดินลอย มักนำมาใช้ในงานประเภทต่อเติม นอกจากนี้ยังนิยมนำมาใช้ในงานออกแบบสไตล์ลอฟท์ หรือแบบบูติก ที่เน้นความงดงามในโครงสร้างแบบเดิมๆ เช่น โชว์ผนังเปูนเปลือย เดินระบบไฟใเห็นเส้นของท่อตามผนังและเพดาน ด้วยเนื้อท่อที่เป็นสีขาวทำให้เข้ากับผนังไม่ต้องทาสีทับ และท่อยังสามารถดัดโค้งได้ถึง 90 องศา โดยใช้สปริงดัดท่อแทนความร้อนได้ ช่วยประหยัดข้อต่อ และทำให้งานเสร็จแล้วขึ้นอีกด้วย
ท่อโลหะอย่างเดียว
สำหรับท่อโลหะอย่างเดียวจะสามารถแบ่งออกได้เพิ่มเติมดังนี้
1. ท่อโลหะขนาดบางหรือ EMT (Electrical Metallic Tubing)
เป็นท่อที่ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดเย็น รีดร้อน หรือแผ่นเหล็กกล้าที่ถูกเคลือบด้วยสังกะสี และผิวภายในจะถูกเคลือบด้วยอีนาเมล ส่งผลให้ผิวทั้งภายในและภายนอกดูเรียบและมันวาว ส่วนปลายท่อทั้ง 2 ด้านจะเรียบ ไม่สามารถบิดทำเกลียวได้ โดยมีมาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวระบุชนิด และขนาดของท่อ โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 1/2″ -2” ยาว 10 ฟุตหรือ 3 เมตรโดยประมาณ ท่อประเภทนี้สามารถนำมาใช้เดินลอยในตัวอาคาร อากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ก็มีข้อห้ามเช่นกันคือ ห้ามฝังในดิน ฝังในพื้นคอนกรีต ตามสถานที่อันตราย หรือบริเวณพื้นที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ
2. ท่อโลหะขนาดกลาง หรือ IMC (Intermediate Conduit)
ท่อชนิดนี้ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อน รีดเย้น หรือแผ่นเหล็กกล้าที่เคลือบสังกะสี บริเวณผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ผิวเรียบและดูมันวาวทั้งภายในและภายนอกของท่อ ซึ่งก็อาจจะมีความคล้ายคลึงกับท่อ EMT แต่ต่างกันตรงที่มีความหนากว่าท่อ EMT และบริเวณปลายท่อถูกทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน และมาตรฐานถูกกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีส้ม หรือบางครั้งจะเห็นเป็นสีแดง เพื่อระบุชนิดและขนาดของท่อ ส่วนของขนาดก็จะมีตั้งแต่ 1/2″ – 4″ และความยาวอยู่ที่ท่อนละ 10 ฟุต หรือ 3 เมตรโดยประมาณ ท่อ IMC นำเหมาะสำหรับเดินลอยภายนอกอาคาร ฝังในผนัง และพื้นคอนกรีต
3. ท่อหนาพิเศษ หรือ RSC (Rigid Steel Conduit)
ทำมาจากแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อน รีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายในและภายนอก ทำให้ผิวท่อดูเรียบทั้งภายในและภายนอก ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปก็จะคล้ายกับท่อ EMTและ IMC แต่จะมีความด้านและหนากว่า บริเวณปลายท่อทั้ง 2 ด้านจะทำเกลียวไว้ ท่อชนิดนี้สามารถดัดได้ให้ใช้เครื่องดัดท่อ ไฮดรอลิกหรือ hickey ที่มีขนาดเท่ากัน แต่สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้ข้อโค้งสำเร็จรูปแทน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีดำ ในการระบุ ขนาดและชนิดของท่อ ส่วนขนาดก็จะมีตั้งแต่ 1/2″ – 6″ ความยาวอยู่ที่ท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร เหมาะสำหรับใช้ในการเดินนอกอาคาร ฝังผนังและพื้นคอนกรีต
4. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit)
ท่อโลหะอ่อนทำมาจากแผ่นเหล็กกล้าที่ผิวภายนอกและภายในถูกเคลือบด้วยสังกะสี เป็นท่อที่มีลักษณะอ่อน สามารถโค้งงอได้ ใช้ในการป้องกันสายไฟจากการถูกขีดหรือขูด ฝุ่นควันต่างๆ ที่อยู่ภายในตึกอาคารสูง โรงงาน หรือเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือน ขนาดก็จะมีตั้งแต่ 1/2″ – 4″ ท่อประเภทนี้เหมาะที่จะใช้ในสถานที่แห้งและเข้าถึงได้ง่าย และห้ามใช้ในสถานที่มีความเปียกชื้น ช่องขึ้นลง ห้องเก็บแบตเตอรี่ สถานที่อันตรายต่างๆ และการฝังลงในดินหรือคอนกรีต สำหรับการนำท่อโลหะอ่อนมาใช้งานขนาดของท่อจะต้องไม่เล็กไปกว่า 1/2″ ยกเว้นกรณีที่ท่ออ่อนถูกประกอบมากับขั้วของหลอดไฟต่างๆ และมีความยาวไม่เกิน 180 ซม. ส่วนการจับยึดท่อชนิดนี้นั้นจะต้องมีระยะห่างจากกล่องต่อสายไฟไม่เกิน 30 เมตร และห่างจากอุปกรณ์ไม่เกิน 1.5 เมตร และที่สำคัญห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนเป็นตัวนำ แทนการใช้สายดิน
5. ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ (Rain tight Flexible Metal Conduit)
ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ เป็นท่อที่จะมี PVC เป็นเปลือกหุ้มอยู่บริเวณด้านนอกเพื่อช่วยกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปสู่ด้านในท่อได้ สามารถที่จะใช้ฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีตได้ และเหมาะสำหรับนำมาใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นหรือเปียก และพื้นที่ที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันการชำรุดของสายไฟซึ่งเกิดขึ้นมาจากไอของเหลว ของแข็งหรือใช้ในบริเวณที่อันตราย