ระบบเบรก ที่อยู่คู่กับรถ มีระบบ ดิสก์เบรก ดรัมเบรก แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร
เบรก (Break) เป็นระบบที่เกิดขึ้นควบคู่กับยาพาหนะตั้งแต่แรกเริ่ม เนื่องจากเป็นระบบที่ช่วยในการบังคับและควบคุมยานพาหนะให้สามารถชะลอความเร็วลงได้อย่างปลอดภัย นับตั้งแต่เบรกที่ต้องใช้เท้าและมือสัมพันธ์กันมาจนถึงระบบเบรกอัตโนมัติในปัจจุบัน โดยเบรกได้ผ่านการพัฒนาและทดสอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์ของยานยนต์ ทั้งนี้ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดในการขับขี่ของเจ้าของยานพาหนะนั่นเอง โดยระบบเบรกในปัจจุบันมีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้
ดิสก์เบรก (Disk Brake)
ดิสก์เบรกเป็นระบบเบรกที่นิยมใช้ในยานยนต์อย่างรถเก๋งหรือรถกระบะ โดยมีหลักการทำงานสำคัญคือเมื่อมีการเหยียบเบรก แม่ปั๊มจะดันผ้าเบรกไปหนีบกับจานเบรกที่ติดกับกงล้อ ทำให้ยานยนต์ค่อย ๆ ชะลอความเร็วลงจนหยุดลงในที่สุด ดิสก์เบรกส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งอยู่บริเวณสองล้อหน้า ทั้งนี้ การติดตั้งดิสก์เบรกล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของยานยนต์ทั้งสิ้น ยานยนต์ที่ต้องใช้ความเร็วมากอาจมีการติดตั้งดิสก์เบรกทั้งสี่ล้อเพื่อเพิ่มความสามารถในการเบรกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถแข่งที่ต้องเร่งทำความเร็วในการเข้าโค้ง สมรรถนะในการเกาะพื้นถนนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความปลอดภัยของผู้ขับขี่
ดรัมเบรก (Drum Brake)
หนึ่งในระบบเบรกชุดแรก ๆ ที่มีการพัฒนามาพร้อมกับกำเนิดของยานยนต์สมัยใหม่ แม้ว่าปัจจุบันดรัมเบรกจะไม่ค่อยมีการใช้งานกับยานยนต์สมัยใหม่เท่าใดนัก แต่ยังปรากฏให้เห็นอยู่บ้างในรถเก๋งหรือรถกระบะบางรุ่น ดรัมเบรกมีลักษณะเด่นที่สำคัญคือ ผ้าเบรกที่มีรูปร่างโค้งสองอัน เรียกว่า ฝักนำและฝักตาม หรือในภาษาช่างว่าก้ามปูเบรกกับฝักเบรก โดยผ้าเบรกทั้งสองจะถูกแม่ปั๊มดันให้ไปยึดติดกับด้านในของฝาครอบเบรกซึ่งจะถูกดันอีกทอดหนึ่งให้ไปติดกับล้อรถ ส่งผลให้ความเร็วของรถค่อย ๆ ชะลอลงจนหยุดอยู่กับที่ในที่สุด ปัจจุบันดรัมเบรกนิยมใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่โดยมีการติดตั้งทั้งสี่ล้อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการหยุดรถ รวมถึงรถรุ่นใหม่บางยี่ห้อที่นิยมติดตั้งดรัมเบรกบริเวณล้อหลัง
ข้อดีของดิสก์เบรก
เหตุที่มีการเปลี่ยนระบบเบรกที่ใช้งานมาเป็นระยะเวลานานอย่างดรัมเบรกมาเป็นดิสก์เบรก ก็เนื่องเพราะระบบอย่างหลังมีข้อดีและจุดแข็งหลายประการที่สามารถนำมากลบข้อเสียของดรัมเบรกได้ ทำให้ปัจจุบันยานยนต์ส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนมาติดตั้งและใช้งานระบบดิสก์เบรก ด้วยข้อดี 3 ประการ ดังนี้
1. ดิสก์เบรกลดโอกาสการเกิดปรากฎการณ์เฟด
เฟดคือปรากฎการณ์ที่ผ้าเบรกทำงานขัดข้องลงอย่างฉุกเฉิน ทำให้ศักยภาพในการเพิ่มแรงเสียดทานกับพื้นถนนที่นำไปสู่การชะลอความเร็วของยานยนต์นั้นลดลง สาเหตุของการเกิดเฟดอาจมาจากอุณหภูมิของผ้าเบรกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน หรือที่เรียกกันว่าอาการผ้าเบรกไหม้นั่นเอง ลักษณะดังกล่าวอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยมักเกิดขึ้นเมื่อยานยนต์วิ่งด้วยความเร็วสูงหรือมีการเหยียบเบรกค้างหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเวลาที่ต้องขึ้นหรือลงทางที่มีความลาดชันสูง ทั้งนี้ ยานยนต์ส่วนใหญ่ที่มีการติดตั้งดิสก์เบรกจะช่วยลดอาการเฟดลงได้ เนื่องจากดิสก์เบรกจะใช้ระบบจานเบรกแบบเปิดที่ปล่อยให้ลมพัดเข้าไปทำความเย็นแก่ดิสก์เบรก ช่วยถ่ายเทความร้อนได้เป็นอย่างดี ต่างจากระบบดรัมเบรกที่เป็นระบบปิด ทำให้ความร้อนพุ่งสูงขึ้นจนผ้าเบรกไหม้ได้
:: ที่โรงงานของไชยเจริฐเทค เรารับร่วมผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีการตัดเลเซอร์ที่ทันสมัย รองรับงานสั่งทำชิ้นส่วนปริมาณมากได้ดี
2. ดิสก์เบรกสลัดน้ำออกจากระบบได้ดีกว่า
ยานยนต์รุ่นเก่า ๆ ที่ใช้ระบบดรัมเบรกเมื่อต้องขับผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมขังสูง มักจะต้องประสบกับปัญหาน้ำเข้าไปในเบรกจนทำให้มีปัญหาในการหยุดรถ เนื่องจากดรัมเบรกไม่มีกลไกในการสลัดน้ำออกจากเบรกเหมือนดิสก์เบรกที่สามารถสลัดน้ำได้ดียิ่งกว่า ทำให้ไม่มีปัญหาน้ำขังในเบรกจนไม่สามารถหยุดรถได้ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในฤดูฝนที่ต้องขับรถผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมขังบ่อย ๆ การใช้ดิสก์เบรกจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่มากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่สามารถกันน้ำได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นท์ แต่ดิสก์เบรกก็สามารถรีดน้ำออกจากเบรกได้อย่างรวดเร็วมากกว่าดรัมเบรก
3. บาลานซ์ล้อหน้าให้เบรกเท่ากัน
ปัญหาประการหนึ่งของการใช้ระบบดรัมเบรกคือเบรกของล้อสองคู่หน้ามักทำงานไม่เท่ากัน ทำให้หน้ารถปัดไปในทิศทางใดทางหนึ่งได้ ต่างจากรถที่ทำงานด้วยระบบดิสก์เบนกที่การทำงานของเบรกจะสามารถรักษาสมดุลของล้อสองคู่หน้าให้เท่ากันได้ ส่งผลให้เวลาเบรกรถจะไม่ปัดไปทางซ้ายหรือทางขวา มีความปลอดภัยมากกว่าในกรณีที่จำเป็นต้องมีการเบรกอย่างฉุกเฉิน
ข้อเสียของดิสก์เบรก
แม้ว่าดิสก์เบรกจะมีจุดแข็งหลายประการที่เหนือกว่าดรัมเบรก แต่ก็ใช้ว่าระบบเบรกดังกล่าวจะปราศจากจุดด้อย โดยข้อเสียเปรียบที่เห็นได้ชัดของดิสก์เบรกคือการทำงานในยามที่ต้องเข้าเกียร์ถอยหลัง ด้วยเหตุนี้ รถยนต์หลายยี่ห้อจึงนิยมติดตั้งระบบดรัมเบรกซ้อนไว้สำหรับดิสก์หลังอีกชั้นหนึ่งเพื่อการันตีว่าเมื่อถอยหลัง รถจะสามารถหยุดได้อย่างทันทีผ่านระบบเบรกมือ โดยมีการเชื่อมต่อกลไกเบรกมือมายังดิสก์เบรกหลังเพื่อช่วยให้ล้อรถสามารถเกาะพื้นถนนอยู่ได้แม้ว่าจะต้องจอดบริเวณเนินก็ตาม อันเป็นไปเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นสำคัญ