ปฏิวัติโลกอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ความสำคัญของการปฏิวัติโลกยุคใหม่
การเปลี่ยนแปลงของโลกนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่ในยุคสมัยดึกดำบรรพ์ที่เป็นยุคหิน จากนั้นเริ่มค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเข้ามาสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ผู้คนรู้จักการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชกินเอง จึงเกิดการตอบสนองจากจำนวนผู้คนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การผลิตสินค้าในแต่ละครั้งทำได้มากกว่าเดิมหลายเท่า การเปลี่ยนแปลงโลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโลกอย่างไรบ้าง ลองมาศึกษาเรียนรู้ได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้
ปฏิวัติโลกอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่มีชื่อเรียกว่า ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ INDUSTRY 4.0 เป็นสิ่งหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย จนถึงการพลิกวงการของอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL REVOLUTION) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและระบบผลิตที่มีความแตกต่างจากเดิม จากระบบการผลิตที่ทำกันภายในครอบครัว จึงทำให้การผลิตทำได้จำกัด และไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งในอดีตนั้นนายทุนจะซื้อวัตถุดิบ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับครอบครัวรับไปทำ แล้วตัวพ่อค้าเองจึงมารับซื้อสินค้าที่สำเร็จรูปแล้วไปขาย ในส่วนของคนงานก็จะได้รับค่าจ้างตอบแทน การผลิตในรูปแบบเดิมนั้น จะต้องใช้แรงงานคน และแรงงานสัตว์เป็นหลัก รวมไปถึงการใช้พลังงานจากธรรมชาติ และการใช้เครื่องมือแบบง่าย ๆ ไปจนถึงแบบที่มีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น จนขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็น ระบบการผลิตในระบบโรงงาน (FACTORY SYSTEM) ซึ่งการผลิตเดิมซึ่งเป็นการผลิตภายในครอบครัว ก็ค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไป
การเริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมในยุคแรก ๆ เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดย เจมส์ วัตต์ ได้ทำการปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำนิโคแมนให้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสร้างรถไฟ ทำให้การคมนาคมทำได้สะดวกมากขึ้น และถูกพัฒนาตลอดจนนำไปสร้างเครื่องจักรที่เรียกว่า “สมัยแห่งพลังไอน้ำ” ซึ่งตรงจุดนี้เอง เป็นจุดที่เรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 อย่างแท้จริง เครื่องจักรไอน้ำนั้น ไม่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยเจมส์ วัตต์ แต่เขาเป็นผู้ทำการพัฒนาจนสร้างนวัตกรรมมากมาย ที่ทำให้ประสิทธิภาพของการผลิตสิ่งทอเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 เท่าตัวจากเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่า เขาเป็นจุดเริ่มต้นของการมาถึงของ โรงงานที่ใช้เครื่องจักรเป็นตัวช่วยในการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดโรงงานสมัยใหม่
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อ เฮนรี ฟอร์ด มีการนำระบบสายพานเข้ามาใช้ในการผลิตรถยนต์ในปี ค.ศ. 1913 จึงทำให้เกิดรถยนต์โมเดล ซึ่งมีจำนวนการผลิตมากถึง 15 ล้านคัน และหลังจากนั้นก็หยุดการผลิตการผลิตไปในปี ค.ศ. 1927 ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนจากการใช้เครื่องจักรไอน้ำ มาสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าส่งผลทำให้เกิดการผลิตจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยเทคนิคการใช้สายพานในลักษณะเดียวกันนี้จึงได้รับการเผยแพร่ไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า เป็นยุคที่มีการผลิตสินค้าเหมือน ๆ กันเป็นจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า Mass Production ได้เกิดขึ้นแล้ว
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3
ในยุคนี้เป็นการเริ่มต้นของการใช้คอมพิวเตอร์ เข้ามาใช้ในวงการอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1970 จึงทำให้เกิดการผลิตแบบอัตโนมัติขึ้น จึงช่วยเสริมประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในทุกวันนี้ในแทบทุกโรงงาน จะต้องมีระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เข้าไปเป็นส่วนช่วยในการผลิตอยู่เสมอ และได้มีการพัฒนาให้มีการผลิตซึ่งใช้ระบบอัตโนมัติขั้นสูง เพื่อผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความซับซ้อนมาก ๆ ซึ่งจุดประสงค์ของการผลิตโดยวิธีนี้ ก็เพื่อช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิต ทำให้สินค้ามีราคาถูกลง ซึ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภค
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ จะมีการนำการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลและอินเตอร์ เข้ามามีส่วนช่วยในการผลิตสินค้า นับว่าเป็นข้อดีเพราะสามารถเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้าไปสู่การผลิตสินค้าได้โดยตรง ซึ่งอธิบายอย่างง่าย ๆ ว่า การผลิตสินค้าของโรงงานในยุค 3.0 สามารถผลิตสินค้าของแบบเดียวกันจำนวนมากในเวลาไม่นาน แต่สำหรับโรงงานในยุค 4.0 จะสามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบแต่ต่างกัน ตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละราย
สำหรับประเทศไทยนั้น ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นับว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่ภาครัฐจะต้องหันมาสนใจต่ออุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งการประกาศนโยบายดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศในทุก ๆ ด้านเข้าสู่ความเป็นดิจิตัล และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุค Industry 4.0 โดยจะต้องมีองค์ประกอบ 9 ด้าน
- หุ่นยนต์อัตโนมัติ ช่วยในการผลิต (Autonomous Robots)
- การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ (Simulation)
- การบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (System Integration)
- การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับสิ่งของ จนกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ (Internet Of Things)
- การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Cybersecurity)
- การประมวลผล และการเก็บข้อมูลระบบออนไลน์ (Cloud computer)
- การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing)
- เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ผ่านอุปกรณ์ 3 มิติ (Augmented Reality) AR
- ข้อมูลขนาดใหญ่ มีการเก็บบันทึกและจัดเก็บ การค้นหา และการแบ่งปัน (Big data)
การเปลี่ยนแปลงโลกเข้ายุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้ จะนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เพราะความต้องใช้สินค้าที่มีความแตกต่างกัน จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงของระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าสู่ความต้องการของผู้คนได้อย่างแท้จริง