การใช้งานเลเซอร์ ในด้านอุตสาหกรรม สามารถทำได้แบบไหนบ้าง
1.ใช้เจาะเพชรสำหรับทำเป็นช่องดึงลวดโลหะ
เพชร สามารถนำมาใช้เป็นช่องดึงลวดโลหะในอุตสาหกรรมได้ โดยการนำมาเจาะรูเป็นขนาดต่างๆ ซึ่งตามปกติแล้ว เพชรสามารถเจาะได้โดยสว่านซึ่งใช้ระยะเวลานานมากคือ เจาะเพชร 20 รูประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งต่างกับเลเซอร์ระบบพัลส์ที่ใช้ระยะเวลาในการเจาะเพชร 20 รูเพียง 10 นาทีเท่านั้น ถือว่าช่วยประหยัดเวลาได้มากและเมื่อลองนำเพชรที่ทั้งสองที่ถูกเจาะโดยวิธีต่างกันมาลองใช้งานจริงกับเครื่องจักรผลิตเส้นลวดแล้วพบว่าให้ประสิทธิภาพที่ดีเท่าๆ กัน
2.ใช้สำหรับปรับแต่งค่าความต้านทาน (trimming resistors)
เลเซอร์ระบบพัลส์นั้นสามารถใช้ในการแต่งค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบคราบโลหะ (metal film) ที่ให้ค่าผิดพลาดน้อยมาก เพียงประมาณร้อยละ 0.05 เท่านั้น เมื่อฉาบคราบโลหะลงบนผิวของหลอดแก้วที่เป็นชิ้นส่วนชั้นนอกของตัวต้านทานแล้ว ผู้ผลิตจะนำคราบโลหะขีดเป็นรอยขดสว่าน (helix) เกิดเป็นค่าความต้านทานแบบหยาบๆ ต่อจากนั้นจึงจะนำสำแสงเลเซอร์ระบบพัลส์ยิงผ่านหลอดแก้วเข้าไปตัดแต่งคราบโลหะ เพื่อให้ได้ค่าความต้านทานตามที่ผู้ผลิตต้องการ
3.ใช้สำหรับวัดความยาวอย่างละเอียด ในอินเทอร์เฟียโรมิเตอร์ (interferometer)
การวัดความยาวอย่างละเอียดโดยอินเทอร์เฟียโรมิเตอร์นั้น จะใช้เลเซอร์ชนิดก๊าซฮีเลียม-นีออนที่มีคุณสมบัติด้านการมีสีเดียวและการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถวัดความยาว 100 นิ้วได้ละเอียดมากถึง 0.00003 นิ้วต่อความยาว 1 ฟุต ไม่เพียงเท่านั้น อินเทอร์เฟียโรมิเตอร์ยังถูกนำมาใช้สำหรับตรวจสอบและวัดขนาด (calibrate) ความยาวในแนวเส้นตรงต่างๆได้ ใช้ในการตรวจสอบการวางแนว (alignment) รวมถึงไปถึงสามารถนำมาใช้ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเครื่องมือกลต่าง ๆ ได้
การใช้งานของเลเซอร์ในด้านอื่นๆ
การใช้งานด้านอื่นๆ ของเลเซอร์นั้นมีมากมาย ได้แก่ การนำมาเชื่อมส่วนประกอบในวงจรจุลภาค เจาะรูในโลหะที่มีความแข็งสูง เจาะเซรามิก วัดความเร็วของของไหล ใช้เป็นเรดาร์ทางแสงสำหรับค้นหาระยะทาง หรือเป็นใช้เป็นตัวให้ความร้อนแก่การระเหิดในเครื่องสเปกโทรสโคปชนิดปล่อยแสง ใช้ในงานด้านสื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ ใช้เป็นตัวเจาะนำสำหรับการเจาะขุดอุโมงค์ และใช้ในเทคโนโลยีการผ่าตัดทางการแพทย์แบบไม่เสียเลือด เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว เทคโนโลยีเลเซอร์ชนิดก๊าซขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการยังถูกนำมาใช้ในการจัดตำแหน่งแนวทางแสง (optical alignment) แก่เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดสูง
การทำงานของเลเซอร์ระบบพัลส์
เลเซอร์ระบบ LMT-21 ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัท Westinghouse นั้น สามารถให้พลังงานได้มากถึง 200 จูลที่อัตราความถี่ 1 พัลส์ต่อนาที โดยที่เครื่องเลเซอร์ระบบ LMT-21 นี้สามารถเพิ่มอัตราความถี่ของพัลส์ได้ถึง 1 พัลส์/วินาที และหากกำหนดช่วงเวลาของพัลส์ให้เหมาะสม จัดค่าพลังงานส่งออกและค่าความถี่ของพัลส์ให้มีค่าพอดีแล้ว จะสามารถให้ผลดีในการใช้เลเซอร์ดังกล่าวในการใช้เชื่อมหรือเจาะ ดังตัวอย่างงานที่จะกล่าวต่อไปนี้
ใช้ในการเชื่อมผ่านแก้วหรือพลาสติก
เนื่องจากความโปร่งแสง และการไม่ดูดกลืนรังสีที่ออกมาจากเลเซอร์ของกระจกแก้วและพลาสติก เลเซอร์ทับทิมหรือเลเซอร์แบบใช้แก้วนีโอดีเมียม ถูกนำมาใช้สำหรับส่องผ่านเข้าไปเจาะหรือเชื่อมโลหะภายในแก้วและพลาสติกได้ นอกจากนี้จากการทดลองทำให้พบว่า แสงจากเลเซอร์แบบเป็นพัลส์ ที่ได้จากเลเซอร์ทับทิมสามารถยิงผ่านแก้วไปเจาะแผ่นเพลตขั้วบวกของหลอดวิทยุจนทำให้เกิดรูได้
ใช้สำหรับเชื่อมในแนวเส้น
สำหรับวิธีการเชื่อมในแนวเส้นนี้ ผู้ผลิตจะใช้เลนส์รูปกาบกล้วยโฟกัสพลังงานออกให้ออกมาเป็นรูปแบบเส้น แตกต่างจากเลนส์ธรรมดาที่จะให้พลังงานออกมาในรูปแบบจุด วิธีการเชื่อมด้วยเลเซอร์ดังกล่าวนี้มีความสะอาดสูง จึงถูกนำมาใช้ในการผนึกป้องกันอากาศรั่วสำหรับกระป๋องรีเลย์ขนาดเล็ก ซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้วิธีการเชื่อมแบบธรรมดา เพราะวิธีนี้ทำให้รอยเชื่อมสกปรกมากว่าวิธีการเชื่อมในแนวเส้น
เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปแบบการทำงานต่อเนื่อง (continuous CO2 laser)
เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบทำงานต่อเนื่องนั้น เป็นเลเซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในงานตัดหรือเชื่อมเป็นอย่างมาก เป็นเลเซอร์ที่เกิดจากการรวมกันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และฮีเลียม มีขนาดกำลังสูงและเป็นตัวรับพลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปทำให้เกิดการปล่อยประจุแบบรุ่งแสง ในส่วนผสมของก๊าซชนิดนี้จะเกิดกระบวนการทางเลเซอร์ขึ้นในระหว่างระดับต่าง ๆ ทั้งในด้านการสั่นไหวและการหมุนตัวของโมเลกุลของก๊าซทำให้ในขณะที่การลู่ออกของลำแสงน้อยและสมบัติด้านการมีสีเดียวยังมีอยู่ ในบางเครื่องสามารถให้กำลังงานออกแบบต่อเนื่องได้มากกว่า 1000 วัตต์ เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นให้รังสีที่อยู่ในแถบรังสีอินฟราเรด คือมีความยาวคลื่น 10.6 ไมครอน ซึ่งโลหะจะสะท้อนรังสีได้ดีในคลื่นความยาวคลื่นขนาดดังกล่าว ส่งผลให้การเจาะหรือตัดโลหะโดยใช้เลเซอร์ชนิดนี้ไม่เกิดผล เลเซอร์ชนิดนี้จึงถูกนำมาใช้และให้ผลดีสำหรับการเจาะหรือตัดแก้ว ควอตซ์ หิน ไม้ และ พลาสติกแทน และเนื่องจากแก้วสามารถดูดรังสีขนาด 10.6 ไมครอนได้ แก้วจึงไม่สามารถใช้การโฟกัสโดยคลื่นรังสีอินฟาเรดได้เช่นเดียวกัน จึงต้องใช้โลหะที่ไม่ดูดรังสีดังกล่าวแทน เช่น อะลูมิเนียม เจอร์เมเนียม เงิน หรือทอง มาใช้ทำกระจกโค้งสำหรับใช้ในการโฟกัสแทนแก้ว
การตัดวัสดุโดยเลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ลำแสงโฟกัสแล้วของเลเซอร์ชนิดก๊าซสามารถตัดไม้สนขาวขนาดหนา 3/4 นิ้วได้ ในอัตราเร็วที่เร็วมากและไม่เกิดขี้เลื่อย โดยจะให้รูปร่าง ความลึก กว้างของช่อง ปริมาตรของวัสดุที่หลุดออกไปจากช่อง ต่างกับที่เกิดขึ้นจากการเจาะโดยใช้ความร้อนจากเปลวไฟธรรมดา และสำหรับการตัดควอตซ์ที่ทนต่อแรงกระทำ จะสามารถใช้เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัดได้ทันที เนื่องจากสามารถทนกับขยายตัวเกิดที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิได้ แต่แก้วนั้นอาจเกิดการแตกหัก จึงต้องเผาให้ความร้อนทั่วก่อนแล้วจึงสามารถตัดด้วยเลเซอร์