ขั้นตอนการทำงาน ของสถาปนิก ที่หลายคนมักจะสงสัย
ทางสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดแนวทางของการให้บริการในแบบพื้นฐานของสถาปนิก พร้อมเอกสารประกอบที่ทางลูกค้าพึงสมควรจะได้รับตามมาตรฐานในแต่ละขั้นตอนของการทำงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดปัญหาการทำงานระหว่างผู้ว่าจ้างและสถาปนิก และเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานเบื้องต้นก่อนที่จะตกลงทำงานร่วมกัน โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้
1. การวางเค้าโครงของการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น
ขั้นตอนแรกในการทำงานออกแบบเพื่อที่จะได้หาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะสถาปัตยกรรมในเบื้องต้นนั้น จากข้อมูลที่ลูกค้าให้มาย่อมสามารถนำมาใช้กำหนดเป็นแนวคิดหลักของการออกแบบ และพัฒนาจนนำมาสู่แบบร่าง ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็นถึงสัดส่วน ขนาด ความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบและวัสดุโดยสังเขป โดยในกระบวนการนี้ทางด้านสถาปนิกจะต้องทำการศึกษาข้อมูลตามที่ลูกค้ากำหนด และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติทางด้านกฎหมายที่มีความข้องเกี่ยวกับโครงการร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังควรจัดวางโค้าโครงของการออกแบบพร้อมทั้งลงมือออกแบบโดยการร่างแบบขั้นต้น เพื่อนำไปเสนอต่อเจ้าของงาน โดยมีเอกสารที่ควรใช้ประกอบการนำเสนอดังนี้
- แบบร่างผังที่บ่งชี้ถึงบริเวณความสัมพันธ์ของอาคาร หรือกลุ่มอาคารกับในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง
- แบบร่างของตัวอาคารซึ่งประกอบไปด้วยแบบแปลนอาคารคร่าวๆ ทุกชั้น รูปด้านและรูปตัดของอาคารโดยสังเขป
- เอกสารจำเป็นอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาประเมินมูลค่าราคาการก่อสร้างเบื้องต้นตามขั้นตอนดังกล่าว
2. การออกแบบร่างครั้งสุดท้าย
เป็นการพัฒนางานออกแบบเพื่อให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยสถาปนิกจะใช้ข้อมูลที่ผ่านการอนุมัติขั้นต้นข้อที่ 1 มาใช้ในการออกแบบร่างครั้งสุดท้าย สำหรับเอกสารที่สถาปนิกควรใช้ควบคู่กับผลงาน และเพื่อขออนุมัติตามขั้นตอนจะประกอบไปด้วย
- แบบร่างผังที่บ่งชี้บริเวณความสัมพันธ์ของอาคารหรือกลุ่มของอาคารละแวกข้างเคียง และความสัมพันธ์ของระบบสาธารณูปโภคใกล้เคียงที่มีความจำเป็น
- แบบร่างของตัวอาคารซึ่งประกอบไปด้วยรายละเอียดของแบบแปลนทุกชั้น รูปตั้ง รูปตัดและแบบร่างอื่นๆ ที่มีความจำเป็น
- แบบร่างเพื่อแสดงถึงระบบวิศวกรรมทุกสาขาที่มีความข้องเกี่ยว
- รายละเอียดเกี่ยวกับด้านวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในโครงการนี้โดยสังเขป
- เอกสารจำเป็นอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
- ประมาณราคาของการก่อสร้างไปตามขั้นตอนที่ 2 โดยจะมีรายละเอียดที่มากยิ่งขึ้น
3. การพัฒนาแบบก่อสร้าง เอกสารขออนุญาติและการก่อสร้าง
เมื่อเจ้าของงานได้อนุมัติแบบร่างขั้นตอนสุดท้ายเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว สถาปนิกจะต้องลงมือจัดทำรายละเอียดเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างต่อไป โดยแบบดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดของท้องถิ่นและองค์กรณ์ท้องถิ่นควบคุม อีกทั้งควรมีรายละเอียดของการก่อสร้าง รายการประกอบแบบและเอกสารที่ใช้เพิ่มเติมอย่างพอเพียง ที่สำคัญแบบดังกล่าวยังสามารถนำมาใช้เป็นเอกสารประกอบการประกวดราคาและการทำสัญญาว่าจ้างแก่ผู้รับเหมา โดยเอกสารที่ทางสถาปนิกจะต้องส่งมอบให้แก่ลูกค้านั้น ควรประกอบด้วย
- แบบสถาปัตยกรรม ใช้สำหรับขออนุญาตก่อสร้าง
- แบบแสดงถึงผังบริเวณและระบบสาธารณูปโภคในส่วนภายนอกอาคาร
- แบบแสดงถึงแปลนทุกชั้น
- แบบแสดงถึงรูปด้านทั้งหมด 4 ด้าน
- แบบแสดงถึงรูปตัดอย่างน้อยจำนวน 2 รูป
- แบบแสดงถึงรายละเอียดและแบบขยายต่างๆ ตามความจำเป็น
- แบบวิศวกรรมโครงสร้าง รายละเอียดและรายการคำนวณสำหรับการขออนุญาตก่อสร้าง
- แบบวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือสาขาที่ได้ตกลงกัน พร้อมแนบเอกสารที่จำเป็น
- รายการประกอบแบบของการก่อสร้างทุกงาน (งานสถาปัตย์และวิศวระบบต่างๆ) อย่างละเอียด
- ประมาณราคากลางสำหรับค่าก่อสร้างอย่างละเอียด
4. การประกวดราคาและการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง
ทางด้านสถาปนิกจะให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการประกวดราคาดังต่อไปนี้
- จัดทำประมาณราคากลางสำหรับค่าก่อสร้าง (กรณีได้ทำการตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้ว)
- จัดทำเอกสารสำหรับการประกวดราคา (กรณีได้ทำการตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้ว)
- ให้คำแนะนำเพื่อการตรวจสอบใบเสนอราคาในส่วนของผู้รับจ้างก่อสร้าง
- ให้คำแนะนำสำหรับการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามารับเหมาก่อสร้าง
- จัดเตรียมเอกสารสัญญา
ในขั้นตอนระหว่าง 3-4 นี้ กรณีเป็นงานออกแบบเฉพาะ ที่มีลวดลายพิเศษ สถาปนิกอาจจะต้องมองหาบริษัทที่ทำชิ้นงานได้จริงก่อน เช่น การออกแบบลายฉลุ จำเป็นต้องมองหา บริษัทที่รับตัดเลเซอร์ลายฉลุเพื่อการออกแบบ เตรียมไว้ก่อน หากไม่มีบริษัทใดสามารถทำลายนั้นๆ ได้ ก็อาจจะต้องีการเปลี่ยนแปลงแบบงาน ก่อนที่จะมีการสร้างชิ้นงานจริงแบบ Final
5. การก่อสร้าง
ในการก่อสร้าง สถาปนิกจะให้ความร่วมมือร่วมด้วย เพื่อให้การก่อสร้างสามารถดำเนินไปตามความต้องการ และเป็นไปตามเอกสารสัญญาดังนี้
- ตรวจสอบการปฏิบัติงานในส่วนของผู้รับจ้างก่อสร้าง ณ สถานที่ทำการก่อสร้างแบบเป็นครั้งคราวเพื่อรายงานให้แก่ลูกค้าทราบ
- ให้คำแนะนำสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างนั้นสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยความเรียบร้อย
- ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ควบคุมงาน เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินตามความประสงค์ของการออกแบบและเอกสารสัญญา
- ให้รายละเอียดเพิ่มเติมไปตามความจำเป็น
- ตรวจและอนุมัติแบบในการใช้งาน รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนตัวอย่างที่ผู้รับจ้างก่อสร้างนำมาเสนอ
6. การส่งมอบเอกสาร
สถาปนิกจะทำการส่งมองเอกสารให้แก่ลูกค้าประกอบการใช้งาน ตามข้อ 3 โดยจะมอบเป็นแบบพิมพ์เขียวในจำนวน 10 ชุด และเอกสารรายการประกอบแบบอีกจำนวน 10 ชุด เพื่อนำไปใช้ในการขออนุญาต ประมูลราคาก่อสร้าง แต่หากเจ้าของงานมีความต้องการเอกสารมากกว่าที่กำหนด ทางด้านสถาปนิกสามารถเบิกค่าใช้จ่ายเพื่อจัดทำเอกสารเพิ่มเติมจากลูกค้าต่อไป
7. งานที่ไม่ครอบคลุมค่าบริการของสถาปนิก
นอกจากงานดังกล่าวแล้ว ยังมีงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการตระเตรียมเอกสารและการก่อสร้างอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตการให้บริการในส่วนของสถาปนิกแต่อย่างใด แต่หากลูกค้ามีความต้องการสถาปนิกก็สามารถช่วยดำเนินการให้ โดยคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงหรืออาจเป็นราคาที่ตกลงกันเองระหว่างลูกค้ากับสถาปนิก ได้แก่
- การขออนุญาตก่อสร้างกับทางราชการ สถาปนิกจะทำการเตรียมเอกสารและยื่นให้ลูกค้า แต่ในส่วนของค่าธรรมเนียม ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลูกค้าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วยตนเอง
- การจัดทำหุ่นจำลองขนาดใหญ่ขึ้นโดยละเอียด
- การออกแบบและการตกแต่งภายใน
- การควบคุมงานด้านก่อสร้าง
- การบริหารงานด้านก่อสร้าง
- การรังวัดตรวจสอบที่ดินหรือการหาข้อมูลด้านต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับที่ดินหรือทรัพย์สินในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นๆ
- การขุดเจาะสำรวจคุณภาพของดินเพื่อการรับน้ำหนัก (soil Test)
นี่ก็คือแนวทางเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบสัญญาหรือข้อตกลงในการว่าจ้างงานของสถาปนิกและลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับงานและการบริการจากสถาปนิกอย่างไรบ้าง และเพื่อให้เกิดความสบายใจกับการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย