ซ่อมห้าง VS ซ่อมอู่ เป็นอย่างไร ควรเลือกซ่อมแบบไหนดี?
ผู้ที่ทำประกันชั้น 1 หากมีตัวเลือกว่าอยากจะนำรถเข้าซ่อมที่ไหน เมื่อต้องการเคลมประกันรถยนต์ ระหว่าง “ซ่อมห้าง” หรือ “ซ่อมอู่” หลายคนย่อมมีข้อสงสัยว่าทั้ง 2 อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร และควรเลือกแบบไหน บทความนี้จะชี้แจงให้ได้ทราบ
ซ่อมห้าง
ซ่อมห้าง หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “ซ่อมศูนย์” คือการนำรถเข้าซ่อมกับศูนย์บริการรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ สาเหตุที่เรียกว่า “ซ่อมห้าง” เพราะคำดังกล่าวย่อมาจากคำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” โดยศูนย์บริการรถยนต์ทั่วไปมักจดทะเบียนในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงเรียกกันโดยย่อสั้นๆ ว่า “ซ่อมห้าง” ในขณะที่อู่รถยนต์จะจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล
ข้อดีจากการซ่อมห้าง
- หากเป็นรถรุ่นใหม่ การซ่อมห้างจะมีอะไหล่ใหม่ๆ รองรับมากกว่า ขณะที่การนำรถเข้าซ่อมอู่อาจหาอะไหล่ไม่ได้หรือหาได้ยาก นอกจากต้องสั่งซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการซ่อมยาวนานขึ้น
- อะไหล่มักเป็นของแท้ เจ้าของรถจึงค่อนข้างอุ่นใจ และมั่นใจในสินค้าคุณภาพที่ได้รับ เพราะอะไหล่จะต้องสั่งตรงจากโรงงานรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ โดยตรง
- หากรถมีปัญหาเฉพาะภายในเครื่องยนต์ การซ่อมห้างจะค่อนข้างเชื่อใจได้ค่อนข้างมาก เพราะจะมีช่างผู้เชี่ยวชาญประจำการอยู่
- งานที่ออกมามักได้มาตรฐาน
ข้อเสียจากการซ่อมห้าง
- ราคาแพงกว่าการซ่อมอู่ และหากต้องการเลือกซ่อมอู่ เมื่อเอาเข้าจริงแล้ว หากต้องการซ่อมห้างจะต้องจ่ายค่าเสียส่วนต่างเพิ่มขึ้น
- ใช้ระยะเวลาในการรอคิวค่อนข้างนาน และการซ่อมก็ยังใช้เวลานาน
- บางจังหวัดหรือบางสถานที่จะไม่มีศูนย์บริหาร ซึ่งอาจมีปัญหาที่ลูกค้าจะเข้าถึงได้ยาก
ซ่อมอู่
การซ่อมอู่จะแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ อู่นอกเครือบริษัทประกันรถ โดยอาจเป็นอู่ใกล้บ้านที่รู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และอู่ในเครือของบริษัทประกันรถ ซึ่งเป็นอู่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริษัทประกันแล้วเป็นอย่างดี สำหรับความแตกต่างระหว่างอู่ซ่อมในเครือฯ กับอู่ซ่อมนอกเครือคือ การสำรองเงินจ่ายเมื่อนำรถเข้าไปซ่อม หากนำรถเข้าซ่อมที่อู่นอกเครือฯ ลูกค้าจะต้องสำรองจ่ายไปเองก่อน จากนั้นจึงสามารถนำใบเสร็จไปเคลมกับทางบริษัทประกันภายหลัง ขณะที่การนำรถเข้าซ่อมกับอู่ในเครือฯ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องสำรองเงินจ่ายในส่วนดังกล่าว
การซ่อมอู่ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- อู่ซ่อมในเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริษัทประกันที่ลูกค้าทำไว้ เมื่อนำรถไปซ่อมหรือไปเคลมก็สามารถนำรถเข้าซ่อมได้เลย และเมื่อซ่อมเสร็จแล้วก็สามารถนำรถออกมาได้เลยทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องสำรองเงินจ่ายเองก่อนหรือเสียเงินใดๆ เพิ่มเติม (กรณีที่ไม่ได้ซ่อมในส่วนนอกเหนือจากที่ได้ตกลงกับบริษัทประกันไว้)
- อู่นอกเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ไม่ได้อยู่ในส่วนของการรับรองจากบริษัทประกันที่ลูกค้าทำไว้ โดยอาจจะเป็นอู่ซ่อมรถใกล้บ้านหรืออู่ที่ลูกค้ารู้จักคุ้นเคยกัน หรือเป็นอู่ที่ได้รับคำแนะนำว่าซ่อมดี รวดเร็ว ฯลฯ ซึ่งอู่ลักษณะนี้ ลูกค้าจะต้องสำรองเงินจ่ายไปเองก่อน จากนั้นจึงนำเอาใบเสร็จไปเบิกกับทางบริษัทประกันรถในภายหลังต่อไป
ข้อดีจากการซ่อมอู่
- โดยส่วนใหญ่แล้ว หลายคนมักเลือกใช้บริการซ่อมอู่ใกล้บ้าน เพราะรู้จักกันหรือจากการแนะนำของคนรู้จัก จึงค่อนข้างคุยง่าย หาง่ายและให้บริการดี
- เบี้ยประกันรถยนต์จะราคาถูกกว่าการซ่อมศูนย์อย่างมาก
- มีตัวเลือกให้ลูกค้าได้เลือกเยอะ
- ไม่ต้องเสียเวลารอนานเหมือนการนำรถซ่อมห้าง เพราะการซ่อมอู่บางครั้งรอเพียง 1-2 วันก็ได้ใช้รถแล้ว
ข้อเสียจากการซ่อมอู่
- กรณีซ่อมรถเสร็จแล้วเกิดปัญหา ซ่อมอู่อาจจะไม่รับผิดชอบเพื่อแก้ไขให้
- มีความเสี่ยงถูกโกงในเรื่องอะไหล่ การนำของปลอมมาใช้ ใช้ของถูก คุณภาพต่ำ
- หากเลือกร้านซ่อมดีซึ่งมีคนแนะนำมาก็อาจได้งานเนี้ยบ แต่หากเลือกร้านไม่ดี งานซ่อมออกมาก็อาจจะไม่ดีเช่นกัน
ซ่อมอู่หรือซ่อมห้าง ควรเลือกแบบไหนดี?
การพิจารณาเลือกระหว่างซ่อมอู่หรือซ่อมห้างนั้น ควรพิจารณาเลือกไปตามคุณสมบัติ ความน่าเชื่อถือและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงไลฟ์สไตล์ของการใช้รถ ตลอดจนความสะดวกในการเดินทางไปยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมนั้นๆ เพราะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าซ่อมห้างหรือซ่อมอู่ต่างล้วนก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป และแม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะให้ความนิยมในการซ่อมห้าง เพราะเชื่อว่าเป็นทางเลือกในการนำรถเข้าซ่อมที่ดีกว่า
คำว่า “ซ่อม” ในแง่ของประกัน
โดยปกติแล้ว ทางศูนย์บริการจะให้บริการด้วยกันหลายอย่าง เช่น การตรวจเช็คระยะไมล์ตามที่กำหนด โดยหากยังอยู่ในช่วงของการรับประกันก็อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ การเปลี่ยนอะไหล่บางอย่างเช่น การเปลี่ยนผ้าเบรก โช็คอัพ ฯลฯ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการใช้งานหรือความเสื่อมสภาพของอายุรถ หากเป็นเรื่องดังกล่าวนี้จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับในส่วนของประกัน เจ้าของรถจะต้องจ่ายเงินด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทั่วไปที่เป็นโชว์รูมรถส่วนใหญ่ก็จะสามารถให้บริการเรื่องดังกล่าวนี้ได้ แต่หากเป็นในส่วนที่บริษัทประกันจะต้องรับผิดชอบนั้น ต้องมีเหตุเสียหายซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุก่อนเท่านั้น
หากลูกค้าได้รับใบเคลมจากบริษัทประกันก็สามารถเข้ารับการซ่อมได้ แต่รถจะต้องประกันซึ่งเป็นแบบเบี้ยซ่อมห้าง จึงจะสามารถเข้าซ่อมศูนย์ได้ และการซ่อมใหญ่ก็จะต้องเป็นการซ่อมในส่วนของตัวถัง ซ่อมสีหรือการซ่อมเครื่องยนต์กรณีที่มีการชนมาอย่างหนัก อีกทั้งยังไม่ใช่กับทุกโชว์รูมที่จะสามารถซ่อมความเสียหายเหล่านี้ได้ เพราะส่วนใหญ่จะต้องเป็นศูนย์ใหญ่ๆ เท่านั้น เนื่องจากจะต้องอาศัยพื้นที่มาก โดยต้องมีห้องสำหรับการพ่นสี อบสี
(บทความนี้เพื่อแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่า โรงงานของเรารับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ สำหรับป้อนให้กับโรงงานรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องจักรการเกษตร)
ปกติแล้ว หากอายุรถยนต์ไม่เกิน 3 ปี ซึ่งได้รับการซื้อเบี้ยซ่อมห้างหรือกรมธรรม์ได้ระบุไว้ว่า สามารถเข้าซ่อมห้างได้ ก็นับว่าไม่มีปัญหาในส่วนของรถที่อายุเกิน 3 ปี ซึ่งทั้งนี้ก็แล้วแต่ยี่ห้อ และบริษัทประกันก็จะต้องตรวจสอบรายละเอียดของกรมธรรม์ให้ดี