OHSAS 18001:2007 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบประเมินความปลอดภัยพนักงาน

OHSAS 18001:2007 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบประเมินความปลอดภัยพนักงาน

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1999 สถาบันมาตรฐานของประเทศอังกฤษออกข้อกำหนดที่มีชื่อว่า OHSAS (Occupational Health and Safety Assessment Series.) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการจากทั่วทุกมุมโลกสำหรับการจัดการปัญหาความปลอดภัยด้านสุขภาพและอาชีพ

โดยมีแนวทางที่ต่อยอดมาจาก BS 8800 มาตรฐานในหน่วยภาคเอกชน และมาตรฐานในระดับชาติ OHSAS 18001 ที่ใช้กับองค์กรใดๆ ก็ได้ เพื่อเป็นตัวช่วยส่งเสริมวิธีการทำงานที่มีความปลอดภัยต่อพนักงาน รวมถึงสวัสดิการของพนักงาน เทียบเท่ากับ ISO 9001 และ 14001 โดยมีผู้ทำการจดทะเบียนรับรองระบบต่างๆ กำลังดำเนินการทดสอบโครงสร้าง ให้คล้ายกับการตรวจประเมิน และในการจดทะเบียนเพื่อรับรองระบบ OHSAS 18001 ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันใOHSAS 18001ถามว่า การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงภัยในการทำงานของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้

ด้วยระบบที่องค์กรต่างๆ เข้าใจดีว่าเป็นประโยชน์ในหลากหลายด้าน จึงเข้าร่วมขอจดทะเบียนเพื่อรับรองตามข้อกำหนด โดยข้อดีของข้อกำหนดเหล่านี้ ยังช่วยให้

  1. เป็นตัวช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับความปลอดภัยของพนักงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสุขภาพและความเสี่ยงอันตรายที่ลดลง
  2. เป็นตัวแสดงให้หน่วยงานทางกฎมายเห็นว่าทางองค์กรมีความจริงจังในด้านการดูแลพนักงาน
  3. มีประโยชน์ช่วยลดค่าเบี้ยประกัน เนื่องจากบริษัทประกันภัยมองเห็นว่าองค์กรมีการจัดการความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่แสดงให้เห็นได้จากการนำเอาระบบ มอก.8001 และ BS OHSAS 18001 มาใช้ปฏิบัติ

มีส่วนช่วยลดต้นทุนได้ดีในระยะยาว เพราะระบบจะสามารถลดความเสี่ยงอันตราย ควบคุมการเกิดอุบัติเหตุต่อบุคคลลงได้เป็นอย่างมาก ทำให้ทางองค์กรไม่ต้องนำเงินมาใช้รับผิดชอบในส่วนนี้มากเกินไป ซึ่งอาจรวมไปถึงการช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่เห็นได้ชัดคือ

  1. ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานเหมาะสำหรับพนักงานด้านความปลอดภัย
  2. เพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
  3. ช่วยยกระดับบุคลากรให้มีการวางแผนที่ละเอียดมากขึ้น มีการทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้อง พัฒนาจัดการระบบการทำงานได้ดี นำมาซึ่งความไม่ประมาท มีความระมัดระวังและหมั่นตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ หากพบปัญหา จะได้รีบแก้ไขและปรับปรุงในทันที จึงเพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ในการทำงานได้อย่างเด่นชัด
  4. พัฒนาเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัยร่วมด้วย

ความแตกต่างระหว่างระบบ TIS 18000 และ OHSAS 18000

ในด้านความแตกต่าง หากกล่าวถึง OHSAS 18001 : 1999 ก็คือการวัดระดับมาตรฐานการจัดการด้านชีวอนามัย และความปลอดภัย มีกำหนดมาจาก สมอ.แห่งประเทศอังกฤษ แม้จะยังไม่ถูกร่างขึ้นเป็นมาตรฐานสากล และ สมอ.ไทย ที่เป็นสมาชิกของ International organization for standardization มีการนำเอามาประยุกต์ใช้ กลายเป็น กลายเป็น TIS 18001 : 2542(Thai industrial standard) การนำมาปรับใช้ในส่วนนี้ มีความแตกต่างกันให้เห็นเพียงเล็กน้อย นั่นก็คือ

  1. TIS 18001 มีการกำหนดเอาไว้ว่า หากทางองค์กรนำเอามาตรฐานนี้ไปใช้ จะต้องทบทวนสถานะเบื้องต้นขององค์กรก่อน แตกต่างจาก OHSAS 18001 ที่ไม่มีข้อกำหนดใดๆ ในส่วนนี้เกิดขึ้น
  2. TIS 18001 มีการเพิ่มข้อกำหนดเพิ่มเติมเอาไว้อีกคือ การเตือนเรื่องความเสี่ยงอันตราย ต่างจาก OHSAS 18001 ที่ไม่มีการกำหนดเอาไว้ให้เป็นที่ชัดเจน
  3. TIS 18001 เพิ่มข้อกำหนดเอาไว้อีกในส่วนการจัดซื้อ หรือจัดจ้าง ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวอนามัย และความปลอดภัย แต่ใน OHSAS 18001 ไม่มีกำหนด
  4. ความแตกต่างของตัวเลขที่ใช้กำหนด OHSAS 18001 จะอ้างอิงตัวเลขมาจากระบบ ISO 14001 ข้อกำหนดจะตรงกันเกือบทุกอย่าง ส่วน TIS 18001 เลขข้อกำหนดจะแตกต่างกันเกือบทั้งหมดทั้งใน OHSAS 18001 และ ISO 14001

TIS 18001 เป็นระบบที่มีข้อกำหนดมากกกว่า OHSAS 18001 อยู่ด้วยกัน 3 หัวข้อคือ เมื่อนำเอา TIS 18001ไปประยุกต์ใช้ ผ่านการรับรองก็จะผลเท่ากับว่าผ่าน OHSAS 18001 ร่วมด้วย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการทำข้อตกลงกับ certified body ด้วยว่าจะขอความประสงค์ ทำทั้ง TIS/OHSAS 18001 เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาจากเดิม

ส่วนเหตุผลที่บางองค์กร ขอการรับรองทั้งสองรูปแบบ อาจเข้าใจได้ว่าบริษัทที่ผ่านการรับรองด้วย TIS 18001สามารถนำไปใช้ยกเว้นภาษีได้ แต่กังวลว่าลูกค้าชาวต่างชาติจะไม่เข้าใจว่า TIS 18001คืออะไร การขอ OHSAS 18001 เพิ่มเข้าไปด้วย จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ส่วนค่าใช้จ่ายก็เพิ่มเข้ามาแค่เล็กน้อยเท่านั้น

นโยบายด้านการกำหนดอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การดำเนินการจะมีการเริ่มต้นจากระบบมาตรฐาน OHSAS 18001 ตั้งแต่ทบทวนสถานะเริ่มต้นขององค์กรเป็นอันดับแรก จากนั้นจะทำการประเมินองค์กรในด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดรายละเอียดในการจัดการวางแผน นโยบาย เป้าหาย และกระบวนการอื่นๆ ที่ใช้พิจารณาประเด็นต่อไปนี้

ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการดังกล่าว ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์ร จะต้องเป็นผู้กำหนดอนุมัตินโยบายการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy, OH&S Policy) ซึ่งต้องอยู่ในขอบเขตที่ถูกกำหนดเอาไว้ตามมาตรฐาน คือ

  1. เหมาะสมกับขนาดของความเสี่ยงทางด้านชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กร มีการแสดงหลักฐานอนุมัติอย่างชัดเจนจากผู้บริหารระดับสูง
  2. แสดงถึงความตั้งใจที่จะป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วย รวมไปถึงการปรับปรุงคุณภาพด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วย
  3. แสดงความมุ่งมั่นที่สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับอันตราย ซึ่งสามารถมีผลต่อชีวอนามันและความปลอดภัย
  4. ใช้เป็นตัวกำหนดกรอบการดำเนินการ และทบทวนวัตถุประสงค์ด้านชีวอนามัย และความปลอดภัย
  5. การนำไปปฏิบัติจะต้องมีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบัน และทำออกมาเป็นเอกสารให้ชัดเจน
  6. สื่อสารแจ้งไปยังบุคลากรทุคนให้ทราบโดยทั่วกัน
  7. แจ้งให้หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทราบเรื่องด้วย
  8. ทบทวนมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อองค์กรต่อไป

OHSAS 18001 จึงถือว่าเป็นมาตรฐานในการจัดการชีวอนามัย และความปลอดภัยที่รู้จักกันดีในประเทศไทย โดยเฉพาะในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการจัดทำระบบและขอรับการรับรองเป็นจำนวนมาก