อาวุธเลเซอร์ ข้อมูลจากของจริงบนโลก เท่าที่มีการเปิดเลย
ประโยชน์ของเลเซอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ไม่ใช่เพียงแค่ใช้ในเชิงพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนานำไปใช้เพื่องานทางด้านทหาร ซึ่งมักถูกเรียกว่า “laser weapon” ที่ใช้งานควบคู่กับขีปนาวุธ มีการนำเอามาพัฒนารวมกัน กลายเป็นอาวุธที่ใช้ทำลายด้วยลำแสงเลเซอร์ ซึ่งมีหลากหลายประเทศที่พยายามนำมาใช้มากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, อิสราเอล, รัสเซีย, อังกฤษ และจีน เป็นต้น
ข้อมูลการใช้อาวุธเลเซอร์เท่าที่เคยเปิดเผย
- การใช้ nuclear pump x-ray laser ในโครงการ Excalibur ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- เมื่อปี ค.ศ. 1984โซเวียตมีการประดิษฐ์ ปืนเลเซอร์แบบพกพา ที่เรียกว่า handheld laser weapon มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้กับคนที่อยู่บนอวกาศใช้ โดยมีนัยเป็นลักษณะของสงครามเย็น
- เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2009 บริษัท Northrop Grumman ทำการประกาศว่าสามารถผลิต electric laser ที่มีขนาด 100 กิโลวัตต์ได้ ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ทำลายจรวดขีปนาวุธกันได้เลยทีเดียว
- เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.2011 กองทัพเรือสหรัฐได้มีการทดสอบปืนเลเซอร์ ซึ่งมี Northrop Grumman เป็นบริษัทผู้ผลิต และทำการติดตั้งบนเรือรบ USS Paul Foster
- เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2007 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้ทำการทดสอบยิงเลเซอร์ที่มีพลังงานสูง เป็นการยิงจากเครื่องบินที่ติดตั้งเครื่องยิงเลเซอร์น้ำหนัก 3 ตันเอาไว้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการทดสอบครั้งนี้ใช้กับเครื่องบินโบอิ้งที่เรียกชื่อว่า “Boeing YAL-1” ซึ่งก็คือเจ้าโบอิ้ง 747 นั่นเอง1.การใช้ nuclear pump x-ray laser ในโครงการ Excalibur ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- เมื่อปี ค.ศ. 1984 โซเวียตมีการประดิษฐ์ ปืนเลเซอร์แบบพกพา ที่เรียกว่า handheld laser weapon มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้กับคนที่อยู่บนอวกาศใช้ โดยมีนัยเป็นลักษณะของสงครามเย็น
- เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2009 บริษัท Northrop Grumman ทำการประกาศว่าสามารถผลิต electric laser ที่มีขนาด 100 กิโลวัตต์ได้ ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ทำลายจรวดขีปนาวุธกันได้เลยทีเดียว
- เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.2011 กองทัพเรือสหรัฐได้มีการทดสอบปืนเลเซอร์ ซึ่งมี Northrop Grumman เป็นบริษัทผู้ผลิต และทำการติดตั้งบนเรือรบ USS Paul Foster
- เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2007 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้ทำการทดสอบยิงเลเซอร์ที่มีพลังงานสูง เป็นการยิงจากเครื่องบินที่ติดตั้งเครื่องยิงเลเซอร์น้ำหนัก 3 ตันเอาไว้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการทดสอบครั้งนี้ใช้กับเครื่องบินโบอิ้งที่เรียกชื่อว่า “Boeing YAL-1” ซึ่งก็คือเจ้าโบอิ้ง 747
ระบบ LaWS ได้ถูกสร้างขึ้นในกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า Laser Weapon System โดยมีการติดตั้งเอาไว้บนเรือรบ USS Ponce โดยมีบริษัท Kratos Defense & Security Solutions เป็นผู้ผลิต นับแต่งแต่ปี ค.ศ.2014 ลักษณะของระบบมีการใช้ลำแสงอินฟราเรดที่ส่งตรงมาจาก solid-state laser มีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการยิงแบบนัดต่อนัด พบว่ามีราคาถูกกว่ากระสุนโลหะหลายเท่า โดยประมาณหากเทียบการยิง 1 นัดมีค่าเท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐเท่านั้น ต่างจากขีปนาวุธขนาดใหญ่ 1 นัด ในราคาสูงลิ่วหลายพันดอลลาร์กันเลยทีเดียว ที่สำคัญไม่ต้องกังวลว่ากระสุนจะหมด สามารถควบคุมการยิงว่าจะเน้นทำลาย หรือยิงขู่แค่เตือนๆ เท่านั้น ก็สามารถทำได้อย่างแม่นยำ
CCW อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด
CCW เป็นคำย่อมาจาก “The Convention on Certain Conventional Weapons” ซึ่งหมายถึง “อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด” หรือ “อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงเกินความจำเป็นหรือก่อให้เกิดผลโดยไม่จำกัดเป้าหมาย” เป็นอนุสัญญาฯ ที่มีการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 34 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2523 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2526
โดนในอนุสัญญาฯ ทุกประเทศได้ร่วมเป็นรัฐภาคี ซึ่งต้องทำการจำกัดอาวุธบางส่วนที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ทำให้บาดเจ็บหนัก ส่งผลมากเกินความจำเป็นต่อกำลังรบโดยที่ไม่มีการแบ่งแยกพลเรือน
มาถึงในส่วนของพิธีสารฉบับที่ 4 ชื่อว่า “Protocol on Blinding Laser Weapons” ได้รับรองไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2538 ผลการบังคับใช้ต่อรัฐภาคีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการห้ามใช้อาวุธที่พัฒนามาจากลำแสงเลเซอร์ที่จะทำให้เกิดอาการตาบอดถาวร โดยพิธีสารดังกล่าวมีประเทศที่เข้าร่วมด้วยกันทั้งหมด 105 ประเทศ
อันตรายจากลำแสงเลเซอร์ที่ส่งผลให้ตาบอดถาวรได้
ในปัจจุบันเลเซอร์มีการพัฒนาขึ้นมาหลายสีมากกว่าในอดีต ซึ่งสีแดง สีฟ้า และสีเขียว ถือว่าเป็นเลเซอร์ที่มีพลังทำลายล้างสูงมาก กรณีเช่นนี้เสี่ยงที่จะทำให้ดวงตาบอดสนิทได้ทันทีที่กระทบเพียงแค่เสี้ยววินาที ความน่ากลัวของเลเซอร์โดยเฉพาะแสงสีฟ้า ยังมีอานุภาพที่ร้ายแรงระดับที่เผาไหม้ผิวหนังได้
แม้จะมีการพยายามป้องกันไม่ให้ใช้อาวุธเลเซอร์ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบได้แน่ชัด เนื่องจากรูปแบบของอาวุธ อาจผลิตออกมาในรูปแบบของปากกาหรือพวงกุญแจ ความปลอดภัยของลำแสงเลเซอร์ หากมีกำลังน้อยกว่า 5 มิลลิวัตต์ ส่วนใหญ่เมื่อส่องเข้าตาจะสามารถหันหน้าหนีทันโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หากมีพอยเตอร์เกินกว่านี้ แม้การกระพริบตาหรือเบือนหน้านี้ ก็จะไม่สามารถป้องกันได้ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาได้แม้จะเพียงชั่วขณะที่กระทบดวงตาเท่านั้น
ไม่ใช่แค่สีฟ้า สีแดง และสีเขียวของเลเซอร์ที่มีพลังงานสูง ลำแสงสีม่วงและน้ำเงิน อาจจะมีผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าได้ เนื่องจากปัจจัยด้านความไวแสงที่น้อยกว่า หากกระทบดวงตาจะทำให้หันหน้าหนีได้ช้ากว่าแสงสีแดงหรือเขียว เพราะฉะนั้นหากพบแม้จะเป็นพอยเตอร์ทั่วๆ ไป ก็ควรเลี่ยงไม่ส่องโดยตรง หรือส่องสะท้อนเข้าดวงตา เนื่องจากไม่มีทางทราบได้เลยว่ามันจะส่งผลเสียหายต่อดวงตาหรือไม่