ตู้สำหรับคอนโทรลระบบไฟฟ้า (ตู้ MDB) มาตรฐานความปลอดภัย เริ่มต้นที่การผลิต
ระบบการติดตั้งไฟฟ้าและการออกแบบ จำเป็นต้องมีมาตรฐานอย่างชัดเจน แม่นยำทุกครั้ง เนื่องจากนี่คือ สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงอันตราย ทำให้ผู้ใช้งานปลอดภัย อายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ก็จะใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น เนื่องจากโรงงานของเรา รับผลิตตู้คอนโทรลระบบไฟฟ้าตามแบบ มามากมาย จึงอยากแบ่งปันความรู้เรื่องประเภทและความปลอดภัยเกี่ยวกับ ตู้สำหรับคอนโทรลระบบไฟฟ้าให้ผู้อ่านได้ทราบ ในการติดตั้งระบบไฟฟ้า จะมีมาตรฐานการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน กำหนดขึ้นมาอย่างชัดเจน ไม่มีการข้ามขั้นตอนหรือทำงานแบบมั่วๆ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดังกล่าวก็จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ผ่าน มอก. (สำนักผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม) ที่หลายคนต่างก็คุ้นชื่อกันเป็นอย่างดี
ตู้สำหรับคอนโทรลระบบไฟฟ้า
ตู้คอนโทรลระบบไฟฟ้า หรือตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า คือ กล่องที่ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์รวมในการควบคุมระบบไฟฟ้าที่หลายแหล่ที่อยู่ในที่พักอาศัย อาคาร สำนักงาน ไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ ตัวตู้จะถูกติดตั้งเอาไว้เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมระบบการทำงานของไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น การติดตั้งที่ใช้กันในปัจจุบัน มีให้เลือกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นชุดขนาดเล็ก ชุดขนาดใหญ่สำหรับอาคาร และชุดขนาดใหญ่ขึ้นไปอีกเพื่อใช้งานกับตึกระฟ้า ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นที่พักแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีตู้คอนโทรลที่ช่วยจ่ายไฟฟ้า และจัดการไฟฟ้าไม่ให้เกิดอันตราย ผู้ใช้งานภายในอาคารจะปลอดภัยเมื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างสบาย
กรณีที่เป็นที่พักอาศัยในลักษณะของบ้าน อพาร์ทเม้น หรือห้องชุด อย่างน้อยที่สุดภายในอาคารที่อาศัยอยู่ร่วมกันนั้นจะต้องมีตู้คอนโทรลระบบไฟฟ้า ซึ่งมักใช้เป็นชนิด Consumer Unit หรือ Load Center ซึ่งตัวอาคารหากมีการใช้ไฟฟ้าแบบ 3 เฟส มีส่วนของสายไฟหลักจากมิเตอร์ไฟฟ้าต่อเข้ากับตู้ Breaker อีกที ภายในตู้ ยังแบ่งออกเป็น Breaker ย่อยเพื่อแบ่งแยกการจ่ายไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท และแยกจ่ายไฟฟ้าในแต่ละชั้นอาคาร รวมถึงสายดิน เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจรขึ้นมา นอกจากนี้หน้าที่ของอุปกรณ์ยังช่วยป้องกันความเสียหายให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จากฟ้าผ่าได้ในระดับหนึ่ง
ตู้ MDB (Main distribution board)
MDB เป็นตู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก โดยจะมี Main Circuit Breaker เป็นตัดวงจรไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคารในอุปกรณ์เพียงตู้เดียว ภายในยังมีแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งจะนิยมติดตั้งภายในอาคารระดับกลางขึ้นไป จนถึงขนาดใหญ่ และในอุตสาหกรรมด้วย เนื่องจากอาคารเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณมากกว่าอาคารบ้านเรือน มีระบบการทำงาน คือ รับเอาไฟฟ้าที่ส่งมาจากการไฟฟ้า หรือจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่หม้อแปลงไฟฟ้าก็ได้ เมื่อได้แล้วจะถูกส่งต่อไปยังส่วนต่างๆ ของอาคารแต่ละชั้น ลักษณะของตู้จะมีขนาดใหญ่ ไม่นิยมติดตั้งกับกำแพง แต่จะวางตั้งเอาไว้กับพื้นมากกว่า โดยโครงตู้ส่วนที่เป็นสวิทซ์บอร์ด ทำจากโลหะแผ่น ซึ่งนพมาประกอบเข้าด้วยกันกลายเป็นโครงตู้ มีความสำคัญในการใช้งานที่น่าสนใจ คือ
- มีคุณสมบัติทางกล คือ รับแรงกลจากภานอกได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะปกติหรือไม่ปกติก็ตาม
- มีคุณสมบัติที่สามารถทนความร้อนได้ดี ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก หรือความร้อนที่เกิดขึ้นภายในระบบจากความผิดปกติ แม้กระทั่งการสปาร์คลัดวงจร ก็สามารถทนต่อความร้อนดังกล่าวได้เช่นกัน
- มีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านการผุกร่อน ที่มาจากความชื้นและสารเคมีได้อย่างดีเยี่ยม
- มีคุณสมบัติช่วยป้องกัน ผู้ที่อยู่ใกล้กับส่วนของสวิทซ์บอร์ด ไม่ให้สัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจนเกิดอันตราย
- ช่วยป้องกันแผงวงจรภายในตู้จากสภาพอากาศอันไม่เหมาะสมภายนอก เช่น ฝุ่นละออง, น้ำ และความชื้น เป็นต้น
- มีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากอาการอาร์ก หรือไฟฟ้าลัดวงจรอย่างรุนแรงได้ ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญ เพราะเมื่อเกิดอาการนี้เข้า อุปกรณ์มีโอกาสหลุดกระเด็นได้
ตู้ SDB (Sub Distribution Boards)
SDB เป็นตู้ที่มีแผงควบคุมไฟฟ้ารองอยู่ภายใน ส่วนประกอบต่างๆ จะเหมือนกับตู้สวิทซ์บอร์ดอยู่พอสมควร ทว่าขนาดจะแตกต่างกันออกมา ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าเน้นพื้นที่ไหน แต่ลดหลั่นจากขนาดตู้ MDB ลงมา เน้นใช้งานเพื่อควบคุมระบบไฟฟ้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะส่วนไหนของอาคารก็ตาม
IP65 กับมาตรฐานรับรองสำหรับตู้คอนโทรล
มาตรฐาน IP65 ตัวเลขที่เห็นมีความหมายดังนี้ ตั้งแต่เลข 6 หมายถึง การป้องกันฝุ่นผงละอองที่อาจจะเข้าไปกัดกร่อนตู้ภายในได้อย่างสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเลข 5 หมายถึง ความสามารถในการป้องกันน้ำได้รอบทิศทาง ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ภายใน เพราะฉะนั้นมาตรฐานนี้จึงมีความสำคัญในด้านความปลอดภัยของตู้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
อุปกรณ์หลักที่มีอยู่ในตู้ MDB โดยทั่วไปเบื้องต้น
ภายในโครงตู้ทั้งหมด จะมีอุปกรณ์พื้นฐานและเป็นอุปกรณ์สำคัญอยู่ภายใน ซึ่งหลักๆ ก็คือ Main Circuit Break สวิทช์ประธาน, Circuit Breaker, บัสบาร์ และอุปกรณ์ในส่วนเครื่องวัดและแสดงค่าทางไฟฟ้า ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเอาไปใช้งานกับอาคารประเภทไหน มีพื้นที่มากน้อยแค่ไหน เป็นบ้านหรือเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
การกำหนดระยะห่างของตู้ไฟ
ตามกฎหมายไม่ได้กล่าวเอาไว้เป็นข้อกำหนดระยะห่างของตู้ไฟว่าต้องห่างกันมากน้อยแค่ไหน แต่ในทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยแล้วล่ะก็ ผู้ติดตั้งสามารถวางระยะห่างได้ตามดุลยพินิจ พื้นที่ติดตั้งจะต้องมีความมิดชิด มีพื้นที่ป้องกันอย่างดี และอยู่ในห้องควบคุมพิเศษเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย ก็ไม่ควรมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาวางเอาไว้ภายในพิกัด แต่สิ่งที่ยกเว้นได้ คือ ถังดับเพลง, อุปกรณ์ของตู้ และอะไหล่
ส่วนการติดตั้ง ให้เหลือพื้นที่รอบๆ ตู้เอาไว้สำหรับการเข้าไปตรวจเช็คซ่อมบำรุงได้ สักประมาณ 80-120 เซนติเมตร ในกรณีที่เป็นตู้ควบคุมแบบติดผนัง จะต้องวางแผนติดตั้งในพื้นที่ๆ สามารถเข้าออกได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง เชื้อเพลิงไวไฟ หรือของเหลววางไว้ใกล้ตู้