ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ของโรงงานอุสาหกรรม
ISO เป็นตัวย่อที่เราต่างคุ้นหูกันดี เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องมาตรฐาน เรียกในชื่อยาวๆ ว่า “Internatioanal Organization for Standardization” สำนักงานหลักตั้งอยู่ที่กรุงเจนนีวา ในประเทศสวิสเซอร์แลนส์ องค์กรที่มีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เข้ามาร่วมรับผิดชอบเพื่อสร้างและจัดทำมาตรฐานที่มีความเป็นสากล
ISO 9000 มีที่มาอย่างไร ?
ISO 9000 เป็นชื่อเรียกของมาตรฐานดังกล่าว มีความหมายตามหลักใช้แทนชื่อเรียกของชุดมาตรฐานของ ISO 9000 ซึ่งภายในชุดดังกล่าวจะประกอบไปด้วยมาตรฐานหลักๆ 3 ประเภท ที่ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 ที่ผ่าน ดังนี้
- ISO 9000:2000 คือ Quality management system ที่เกี่ยวข้องกับ “Fundamentals and vocabulary”
- ISO 9001:2000 คือ Quality management system ที่เกี่ยวข้องกับ “Requirements”
- ISO 9004:2000 คือ Quality management system ที่เกี่ยวข้องกับ “Guidance for performance improvement”
สำหรับระบบการจัดการคุณภาพด้าน ISO 9001 จะเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานสากลเช่นกัน ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ความมั่นใจให้เชื่อมั่นได้ว่าทางผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการทั้งหลายทำการจัดตั้งระบบการจัดการต่างๆ ที่ได้มาตรฐานเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน โดยเป้าหมายก็เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การออกแบบ การพัฒนา และการบริการ ซึ่งเชื่อมโยงกับทุกประเภทการผลิตในทุกอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ ทางบริษัทที่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ตระหนักถึงเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลอันมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด มั่นใจกับหลักฐานของตัวเองแล้วล่ะก็ จะสามารถเตรียมตัวประสบความสำเร็จในมาตรฐานสากลดังกล่าวได้
ในใบรับรองของมาตรฐาน ISO 9001 จะเป็นหลักฐานที่ช่วยแสดงให้เราเห็นได้ถึงการจัดการระบบที่มีคุณภาพ สามารถนำเอาไปใช้กับองค์กรต่างๆ ให้สามารถผลิตชิ้นงานไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ใบรับรองมาตรฐานดังกล่าว ยังสามารถนำมาใช้เป็น countermeasure เพื่อช่วยแก้ปัญหา product liability ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
หลักของมาตรฐาน ISO 9001:2000
หลักการมาตรฐานของ ISO 9001:2000 จะเป็นการระบุถึงข้อกำหนดที่ใช้ในระบบบริหารที่เกี่ยวกับคุณภาพ โดยเป้าหมายเพื่อการสร้างความพอใจให้ต่อลูกค้า มากกว่าจะเน้นการทดสอบหรือตรวจสอบใบผลิตภัณฑ์หรือบริการ การส่งเสริมจะมีการเน้นแนวทางจัดการโดยใช้กระบวนการในการบริหารงานด้านคุณภาพขององค์กรแบบภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมแบบไหนก็ตาม ที่การรับเอาเข้ามาหรือที่เรียกกันว่า “Inputs” จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นผลิตผลของกิจกรรมเหล่านั้น ทำการส่งออกไปเรียกกันว่า “Outputs” กระบวนการดังกล่าวอาจเรียกว่าเป็น “a process”
ตามหลักธรรมชาติ แต่ละองค์กรธุรกิจขนาดเล็กจะประกอบขึ้นจากหลายหน่วยงาน มีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามการดำเนินงาน แต่จะสอดประสานกันภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกันแบบไม่แตกแยก มีกฎเกณฑ์และกติกาในการทำงานแบบเดียวกัน
เพราะฉะนั้นองค์กรที่เน้นการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ย่อมสามารถระบุได้ว่าแต่ละกิจกรรมทุกอย่างภายในองค์กรย่อยได้อย่างชัดเจนมากที่สุด ซึ่งรวมไปถึงกระบวนการต่างๆ เพราะผลิตที่ผลที่ถูกป้อนออก จะเป็นตัวป้อนเข้าให้กับอีกกระบวนการหนึ่งในหน่วยถัดไป ซึ่งเราเรียกกระบวนหารทั้งหมดภายในองค์การอย่างเป็นระบบเดียวกันเหล่านี้ รวมถึงการสรางปฏิสัมพันธ์ภายใน เรียกได้ว่าเป็น “การจัดการด้านคุณภาพโดยการมองแบบกระบวนการ” หรือ “Process approach to quality management”
ISO 9001:2000 หลักประกันที่บอกเราได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีคุณภาพจริงหรือ ?
เนื่องจากตัวมาตรฐานดังกล่าว จะเน้นให้เกิดความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวา ซึ่งการที่จะรับประกันว่าองค์กรดังกล่าวจะคอยส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และปรับปรุงจุดด้อยของตัวเอง ให้เกิดความพึงพอใจกับลูกค้าสูงสุดในระยะยาว
ข้อกำหนดของ ISO 9001:2000
ข้อกำหนดมาตรฐานที่เกิดขึ้นดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้คือ
- เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรมีความสามารถในการผลิตสินค้าพร้อมส่งมอบไปยังลูค้าให้ตรงกับความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด
- ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุความพึงพอใจต่อลูกค้า ด้วยการจัดการระบบบริหารงานให้มีคุณภาพ พร้อมปรับปรุงระบบในระยะยาว เป็นตัวรับประกันได้ว่าข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะตรงตามวัตถุประสงค์ต่อไป
เหตุผลที่ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในมาตรฐานดังกล่าว
เนื่องจากไม่มีระบบบริหารใดที่สามารถช่วยทำให้การจัดการควบคุมองค์กรให้ดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากทางผู้บริหาร ดังนั้นการนำเอามาตรฐานดังกล่าวมาใช้ จะทำให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน และประสบผลสำเร็จได้ดีกว่า
ประโยชน์ของระบบ ISO 9001:2000 สำหรับองค์กร
- ช่วยให้เกิดการบริหารที่เป็นระบบมาตรฐาน ลดข้อบกพร่อง ง่ายต่อการตรวจสอบผลงานตามแผนงานที่วางไว้ และยังง่ายต่อการปรับปรุง
- มีมาตรฐานตามที่ระบุเอาไว้ในนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ง่ายต่อการเดินหน้าสู่เป้าหมายให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
- มีเครื่องมือช่วยตรวจสอบภาในองค์กร ป้องกันการขาดระบบรองรับ
- ช่วยให้มีเครื่องมือดักจับปัญหาที่เข้ามา ลดการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และเข้าแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างตรงจุด
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งสินค้าและบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า
- ลดจำนวนแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ สามารถเลือกแรงงานที่มีพื้นฐานดีไม่บกพร่องเข้ามาทำงานได้ดี
- ช่วยเพิ่มกำลังใจในการทำงานภายในองค์กรให้สูงขึ้น เพราะพนักงานทราบถึงเป้าหมายของงานว่าคืออะไร
ประโยชน์ที่ได้รับต่อลูกค้าภายนอกองค์กร
- ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ
- ได้รับการยอมรับในระดับสากล
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับความพึงพอใจตามที่คาดหวัง
- ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากขึ้น
- ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขัน
จะเห็นได้ว่า ISO เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีเพียงแค่ ISO 9000 เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลาย ISO ที่ถูกตั้งขึ้นตามระบบหมายเลขสากลที่ถูกคิดขึ้น ซึ่งมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับทั้งองค์กรและลูกค้าได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด