เครื่องอ่านบาร์โค้ด การประยุกต์ใช้งานแสงเลเซอร์ เพื่อเก็บข้อมูล

เครื่องอ่านบาร์โค้ด การประยุกต์ใช้งานแสงเลเซอร์ เพื่อเก็บข้อมูล

เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า คือได้ถูกเพิ่มความสามารถในการอ่านแท่งบาร์โค้ดแล้วนำไปประมวลผลเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ด้วยคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงจะส่งต่อให้ระบบ ช่วยประสิทธิภาพด้านความรวดเร็วและความแม่นยำในการทำงาน ลดการเกิดข้อผิดพลาดและลดความล่าช้าจากการทำงานโดยแรงงานคนในการพิมพ์ข้อมูลต่างๆเข้าสู่ระบบ ซึ่งบาร์โค้ดจะสามารถจัดได้ประเภทได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือบาร์โค้ด 1D และ บาร์โค้ด 2D โดยบาร์โค้ดในแบบ 1D จะมีลักษณะเป็นแท่งบาร์โค้ดในแนวนอน มีปริมาณการเก็บข้อมูลที่ค่อนข้างน้อยและมีพื้นที่จำกัด ในแท่งของบาร์โค้ดนั้นข้อมูลจะถูกบันทึกและขยายออกไปในแนวนอนกว้างขึ้นเรื่อยๆตามปริมาณข้อมูลจึงมีข้อเสียคือเมื่อข้อมูลเกินสัดส่วนที่กำหนดจะทำให้เครื่องอ่านไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ครอบคลุมทั้งหมด เหมาะกับการใช้ในงานทั่วๆไปที่ไม่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก เช่น การเก็บหมายเลขเครื่อง Serial Numberหรือ การเก็บตัวเลขรหัสสินค้า สามารถพบเห็นบาร์โค้ดประเภทนี้ได้บนตัวสินค้าต่างๆในชีวิตประจำวัน อีกชนิดหนึ่งนั้นคือบาร์โค้ดในแบบ 2D สามารถเก็บข้อมูลได้ในปริมาณที่มากกว่าเพราะเก็บข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน สามารถขยายออกไปได้ทั้งสองแนว บาร์โค้ดชนิดนี้จึงถูกยกมาใช้ทดแทนข้อเสียของบาร์โค้ดในแบบ 1D ลักษณะของบาร์โค้ดในรูปแบบต่างๆนี้ มีความแตกต่างกันทั้งในด้านวิธีการใช้งานและด้านประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูล ผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงรูปแบบของข้อมูลบาร์โค้ดที่เราจะนำเครื่องอ่านไปใช้งานด้วย ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ซื้อจะต้องศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆของเครื่องอ่านบาร์โค้ดให้เข้าใจดีเสียก่อน

ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด

เครื่องอ่านบาร์โค้ดยังสามารถจัดประเภทได้ตามชนิดของหัวอ่าน ได้แก่ CCD, Laser, Omnidirectional และ Imager โดยจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันในด้านการใช้งาน ดังนี้

  1. เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD (CCD Scanner) มีลักษณะเครื่องเป็นตัวปืน มีข้อดีคือสามารถใช้ในงานกลางแจ้งหรือบริเวณที่มีแสงสว่างมากได้ดี แต่ข้อเสียคือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่าน CCD นั้นสามารถยิงได้ในระยะที่ไม่ห่างเกิน 1 นิ้ว ไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่กว้างกว่าผิวหน้านำเข้าของตัวเครื่องได้และใช้ได้กับบาร์โค้ดลักษณะพื้นผิวราบแบนเท่านั้น
  2. เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ (Laser Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดมีทั้งรูปแบบการติดตั้งอยู่กับที่และรูปแบบพกพาเคลื่อนย้ายได้ สามารถอ่านข้อมูลของบาร์โค้ดได้ในระยะที่ห่างค่อนข้างมาก มีหลักการใช้โดยการฉายแสงเลเซอร์ออกเป็นเส้นตรงขนาดเล็กเป็นเส้นเดียวไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ และมีความถี่เดียว ผ่านกระจกให้ไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดแล้วจึงจะสามารถอ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมายังตัวรับแสงได้ หลักการดังกล่าวจึงทำให้เครื่องอ่านชนิดนี้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดีและมีประสิทธิภาพ
  3. เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง (Omnidirectional Scannerชนิดนี้เป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ใช้หลักการทำงานเหมือนกับชนิด Laser scanner ต่างกันเพียงแบบเลเซอร์ชนิดนี้จะอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าโดยการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง ตัดกันไปมาเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดที่ไม่ได้ทำการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ลักษณะและคุณสมบัติดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้ จึงทำให้มีเครื่องอ่านมีราคาที่ค่อนข้างสูง นิยมใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
  4. Imager Scanner เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ใช้เทคโนโลยีการประมวลภาพที่ทันสมัย มีหลักการอ่านคือการจับภาพของตัวบาร์โค้ด จึงทำให้การถอดรหัสบาร์โค้ดทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถอ่านได้ในระยะที่ห่างมากขึ้น และมากกว่านั้นเครื่องอ่านชนิดยังนี้สามารถอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ แต่ความเร็วในการประมวลผลข้อมูลจะล่าช้ากว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย

เครื่องอ่านบาร์โค้ดนั้น สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของการเคลื่อนย้ายได้อีก คือในบางรุ่นสามารถทำงานเหมือนได้เหมือนหลักการของโทรศัพท์บ้านไร้สาย เป็นรุ่นที่สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้แบบไร้สาย (wireless scanner) ใช้หลักการส่งสัญญาณเชื่อมกับเครื่องประมวลผล ส่วนอีกชนิดนั้นคือเครื่องอ่านที่ต้องตั้งอยู่คู่กับคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใช้สายเชื่อมต่อเพื่อประมวลผลข้อมูล มีลักษณะเป็นรูปปืนที่มีปุ่มยิง น้ำหนักเบาจึงสามารถเคลื่อนย้ายเพื่อใช้งานได้ตามความต้องการ และอีกรุ่นหนึ่งนั้นคือเครื่องอ่านชนิดตั้งโต๊ะ ติดอยู่กับที่ใช้หลักการยิงโดยอัตโนมัติเมื่อมีบาร์โค้ดผ่านหัวอ่านจึงทำให้ในการทำงานไม่สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องได้

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส (Contact Scanners)

เครื่องอ่านประเภทนี้เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบที่ต้องนำอุปกรณ์สัมผัสกับผิวหน้าของรหัสแท่ง แบ่งออกได้ 2 ประเภท

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา (Pen Scanner) หรือแวนด์ (Wand)

 เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะคล้ายหัวปากกา มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ง่าย  อ่านข้อมูลโดยใช้ปลายปากกาผลิตลำแสง แต่มีข้อจำกัดการใช้งานคือในการใช้หัวอ่านสัมผัสบนรหัสแท่งนั้นอาจจะทำให้รหัสลบหรือเสียหายได้ จึงเหมาะสำหรับอ่านบาร์โค้ดที่มีคุณภาพ อย่างเช่น บนเอกสารหรือคูบนปอง

เครื่องอ่านบัตร (Slot Scanner)

เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด สามารถอ่านบัตรได้โดยวิธีการรูดบัตรที่มีบาร์โค้ดลงในช่องอ่านข้อมูล โดยเครื่องอ่านจะอ่านรหัสแท่งของบัตรนั้นๆ เหมาะสำหรับการรูดบัตรที่มีบาร์โค้ดหรืออาจเป็นการอ่านรหัสบาร์โค้ดจากบัตรประจำตัว เพื่อเก็บหลักฐานข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวของเจ้าของบัตรเอง